27 กันยายน 2566
ผู้ชม 2356 ผู้ชม
ที่นอนเพื่อสุขภาพ ที่นอนยางพารา 100% Realpad Top
ที่นอนสำหรับรองรับน้ำหนักร่างกาย ป้องกันการปวดเมื่อยจากการนอนบนวัตถุพื้นแข็ง ใช้ร่วมได้ทั้งเตียงธรรมดา และเตียงผู้ป่วย ปลอกหุ้มกันน้ำ ถอดทำความสะอาดได้ง่าย ระบายอากาศได้ดี นอนแล้วไม่ร้อนอบอ้าว
การรับประกันสินค้า
- สินค้ารับประกันจากการใช้งานปกติ 5 ปี
- จัดส่งฟรีทั่วประเทศ
จุดเด่นที่นอนยางพารา
- รับแรงกระแทกและดูดซับแรงได้ดีเยี่ยม
- นอนได้ทั้ง 2 ด้าน (ด้าน Firm นุ่มแน่น / ด้าน Soft นุ่ม)
- นุ่มเด้งและมีความยืดหยุ่นสูง
- มีความทนทานสูง
คุณลักษณะทั่วไป
- ขนาด (กว้าง x ยาว x หนา) 85 x 195 x 7.5 เซนติเมตร
คุณลักษณะทางเทคนิค
- ขนาด (กว้าง x ยาว x หนา) 85 x 195 x 7.5 เซนติเมตร ซึ่งถูกออกแบบเป็นพิเศษที่จะมีความยางมากกว่าที่นอนทั่วไป เหมาะสำหรับผู้ที่สูง หรือเตียงที่มีพื้นเตียงขนาดใหญ่ เพิ่มความสะดวกสบายในการนอนมากยิ่งขึ้น
- ผลิตจากยางพาราแท้ 100 % สีขาว ทำให้มีความนุ่ม รองรับน้ำหนักได้ดี และลดแรงกดทับ รองรับน้ำหนักตัวตามสรีรศาสตร์ (Nature Posture)ได้
- ออกแบบพิเศษเพื่อใช้ในการนอนโดยเฉพาะ ซึ่งจะประกอบไปด้วยยางพารา 2 ชั้น
- ชั้นแรกเป็นยางพาราชนิด Comfort หนา 2.5 เซนติเมตร ที่จะนิ่ม ยืดหยุ่นสูง รองรับน้ำหนัก และสรีระร่างกายที่สัมผัสได้ดี ทำให้การนอนที่สบาย ลดการปวดเมื่อยจากการกดทับ
- ชั้นที่สองเป็นยางพาราชนิด Medium Firm หนา 5 เซนติเมตร ที่จะถูกผลิตจากยางพาราที่หนาแน่นสูง ทำให้เนื้อสัมผัสนั้นแน่น คงรูป คืนตัวได้เร็วโดยที่ยางพาราทั้ง 2 ชั้นนั้นจะมีรูระบายอากาศที่แตกต่างกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายอากาศได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ผู้ป่วยนอนแล้วไม่อึดอัด อบอ้าว
- สามารถใช้งานได้ทั้งสองด้าน ตามความชื่นชอบของผู้นอน หากชอบเนื้อสัมผัสที่แน่น สามารถพลิกที่นอนยางพาราเป็นด้านเนื้อ Medium Firm แต่ถ้าหากชอบเนื้อสัมผัสที่นุ่ม สบายให้ใช้งานด้านเนื้อ Comfort โดยสังเกตจากป้ายตรา Realpad Top ที่มุมล่างขวาของที่นอนยางพาราจะเป็นด้านเนื้อ Comfort นั้นเอง
- ที่นอนยางพาราทั้ง 2 ชั้น นั้นหุ้มด้วยผ้าตาข่ายจากประเทศเบลเยี่ยมอีกชั้นหนึ่ง เพื่อคงรูปที่นอน และป้องกันการเปื้อนให้แก่ที่นอนยางพารา
- ปลอกของที่นอนนั้นผลิตจากผ้าพอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride- PVC) สีม่วง หนา 0.1 มิลลิเมตร ระบายอากาศได้ดี และสามารถกันน้ำ กันของเหลว หรือสารคัดหลั่งต่างๆ ได้ดี ง่ายต่อการทำความสะอาด มีซิบสามารถถอดออกเพื่อนำไปทำความสะอาดได้
- ดูแลรักษาที่นอนยางพาราได้ง่าย เพียงนำมาที่นอนยางพารามาผึ่งลมเท่านั้น อายุการใช้งานยาวนาน
การรับรองและมาตรฐาน
- ไม่เกิดการแพ้ หรือระคายเคืองต่อผิวหนังโดยผ่านการทดสอบการแพ้เรียบร้อยแล้วจากสถาบันสากล Société Générale de Surveillance (SGS) และการทดสอบคุณภาพจาก LGA Quality Certificate ประเทศเยอรมัน
- ผลิตตามมาตรฐานสากล Global Organic Textile Standard (GOTS) สำหรับวัสดุสิ่งทออินทรีย์ (organic textiles) , ISO 9001:2015 , มาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับ2 และ Thailand Trust Mark
แผลกดทับ คืออะไร
แผลกดทับเป็นแผลที่เกิดจากการกดทับลงไปเป็นเวลานาน ทำให้ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังถูกทำลายแบบเฉพาะที่ เกิดเนื้อตายและแผลขึ้นมา อาจมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย ส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณปุ่มกระดูกต่าง ๆ เช่น ส้นเท้า ก้นกบ ด้านข้างสะโพก เป็นต้น
ปัจจัยเสี่ยงแผลกดทับ
- ขาดการเคลื่อนไหว เช่น นอนติดเตียงตลอดเวลา
- เคลื่อนไหวไม่ค่อยดี
- ผอม ผิวหนังบาง ขาดน้ำ ขาดอาหาร
- โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับเส้นเลือด
- ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ทำให้เกิดความอับชื้นจากการใส่ผ้าอ้อมขณะนอนหลับ
ลักษณะแผลกดทับ
แผลกดทับสามารถระบุระยะที่เป็นได้จากระดับของเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย
- ระยะที่ 1 ผิวหนังมีรอยแดง ๆ ใช้มือกดแล้วรอยแดงไม่จางหายไป ผิวไม่ฉีกขาด
- ระยะที่ 2 ผิวหนังเสียหายบางส่วน แผลตื้น ไม่พอง ไม่เป็นตุ่มน้ำใส
- ระยะที่ 3 แผลลึกถึงชั้นถึงไขมัน สูญเสียผิวหนังทั้งหมด
- ระยะที่ 4 แผลลึกมองเห็นถึงกระดูก เอ็น กล้ามเนื้อ สูญเสียผิวหนังทั้งหมด
นอกจากนี้ยังมีแผลกดทับที่เรียกว่า Deep Tissue Injury (DTI) เป็นแผลกดทับที่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหว ผิวหนังไม่ฉีกขาด มีสีม่วงเข้มหรือสีเลือดนกปนน้ำตาล หรือพองเป็นตุ่มน้ำปนเลือด อาจเจ็บปวดร่วมด้วย ไม่สามารถระบุระยะที่เป็นได้
วิธีการรักษาแผลกดทับ
หัวใจสำคัญในการรักษาแผลกดทับ คือ การลดภาวะเสี่ยงจากการกดทับ ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดแรงกดทับที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งน้อยลง ดูแลแผล บรรเทาอาการเจ็บแผล ป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งการรักษาแบบองค์รวมจะช่วยให้สามารถดูแลได้ครบทุกด้าน วิธีการรักษาแผลกดทับ ได้แก่
- ลดแรงกดทับ โดยจัดท่านอนผู้ป่วยให้พลิกตัวทุก 2 ชั่วโมง หากนอนตะแคงควรนอนที่ 30 – 45 องศา นอนหนุนศีรษะไม่สูงเกิน 30 องศา ไม่นั่งกดทับแผล
- ดูแลแผล เนื่องจากแผลจะหายในที่ที่มีความชุ่มชื้นอยู่บ้าง ดังนั้นในการทำแผลแพทย์จะพิจารณาน้ำหลั่งจากแผล ถ้าน้ำหลั่งเยอะ จะใช้วัสดุที่ดูดซับได้ดี แต่ถ้าน้ำหลั่งน้อยมาก แพทย์จะใช้วัสดุปิดแผลที่ไม่ติดแผลมากนัก จากนั้นแพทย์จะพิจารณาพื้นแผล เนื้อตาย ขอบแผล ประเมินภาวะติดเชื้อ โดยจะเลือกวัสดุปิดแผลที่เหมาะกับประเภทของแผลเป็นสำคัญ เพื่อให้แผลหายเร็วขึ้นและลดการเสียดสีที่ผิวหนัง
- การตัดเนื้อตาย แพทย์จะทำการตัดเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายออกไป เพราะแผลกดทับจะหายได้ต้องไม่มีการติดเชื้อหรือเนื้อเยื่อตาย โดยแพทย์อาจนำส่วนของกล้ามเนื้อ ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อในร่างกายของผู้ป่วยมาปิดแผลและกระดูกในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากแผลกดทับ และแพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะและการดูแลต่าง ๆ เพิ่มเติมตามความเหมาะสม
ข้อมูลแผลกดทับอ้างอิงจาก : นพ. อรรถ นิติพน (โรงพยาบาลกรุงเทพ). แผลกดทับ อย่าปล่อยไว้ให้รุนแรง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokhospital.com/content/pressure-ulcers (วันที่สืบค้าข้อมูล: 30 มีนาคม 2565).
**กรุณาอ่านคู่มือและใช้งานตามคำแนะนำอย่างระวัง**