shopup.com
Reusable Manual Resuscitator (Ambu Bag) ชุดช่วยหายใจแบบมือบีบ Reusable Manual Resuscitator (Ambu Bag) ชุดช่วยหายใจแบบมือบีบ Reusable Manual Resuscitator (Ambu Bag) ชุดช่วยหายใจแบบมือบีบ Reusable Manual Resuscitator (Ambu Bag) ชุดช่วยหายใจแบบมือบีบ Reusable Manual Resuscitator (Ambu Bag) ชุดช่วยหายใจแบบมือบีบ Reusable Manual Resuscitator (Ambu Bag) ชุดช่วยหายใจแบบมือบีบ Reusable Manual Resuscitator (Ambu Bag) ชุดช่วยหายใจแบบมือบีบ Reusable Manual Resuscitator (Ambu Bag) ชุดช่วยหายใจแบบมือบีบ
หมวดหมู่สินค้า: เวชภัณฑ์โรงพยาบาล
รหัส :
ราคา 0.00 บาท

04 มิถุนายน 2564

ผู้ชม 9310 ผู้ชม

Reusable Manual Resuscitator ( Ambu Bag ) ชุดช่วยหายใจแบบมือบีบ

  • หน้ากาก (SILICONE RESUSCITATOR MASK) ทำจาก SILICONE RUBBER สีใส ช่วยให้ง่ายต่อการสังเกต
  • ข้อต่อไปหาผู้ป่วย นั้นเป็นข้อต่อขนาดมาตรฐาน (22 MM ID)
  • ข้อต่อพลาสติกทำจาก POLYSULPHONE แข็งแรง ทนทาน
  • ส่วนที่เป็น DUCK BILL VALVE และส่วนปิดวาล์วต่างๆ ทำจาก SILICONE สีฟ้า
  • ถุงเก็บเพิ่มสำรองออกซิเจน (OXYGEN RESERVOIR BAG) มีขนาดความจุไม่น้อยกว่า 2,500 มิลลิลิตร ในขนาดผู้ใหญ่และเด็กโต ทำจาก โพลีไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl Chloride - PVC) *** เป็นแบบใช้ครั้งเดียว
  • ชุดวาล์วควบคุมความดันบวก (PEEP VALVE) ทำจาก POLYSULPHONE แข็งแรง ส่วนที่เป็นสปริงทำจาก STAINLESS  STEEL จึงไม่เป็นสนิมเมื่อล้างทำความสะอาด
  • สามารถ AUTOCLAVE ได้ทุกชิ้นส่วน ที่อุณหภูมิ 134 °C หรือ 273 °F

 

บทความ

AMBU Bag คืออะไร เอาไว้ใช้งานอะไรได้บ้าง

 

Ambu Bag เป็นชื่อย่อที่มาจากคำเต็มว่า Air Mask Bag Unit และ Artificial Manual Breathing Unit แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังมีชื่ออื่นๆมากมายในการเรียกเช่น Ventilation bag และ Manual Resuscitator เป็นต้น โดยอุปกรณ์ชิ้นนี้จะเป็นเครื่องช่วยหายใจแบบพกพาชนิดมือบีบเป็นอุปกรณ์ที่มีการทำงานประสานกันอย่างมีระบบ โดยช่วยการหายใจผู้ป่วย ด้วยแรงดันผ่านทางหน้ากากช่วยหายใจ หรือท่อช่วยหายใจ เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจได้ สามารถต่อร่วมกับออกซิเจนความเข้มข้นสูงได้อีกด้วย

ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยนั้นมีอาการระบบหายใจล้มเหลว,ไม่มีการหายใจ ,กรณีที่เครื่องช่วยหายใจมีปัญหา หรือระหว่างการขนย้ายผู้ป่วย เป็นต้น

โดยหลักการทำงานของ Ambu Bag นั้นจะประกอบไปด้วย

  1. หน้ากาก (DURABLE SILICONE RESUSCITATOR MASK) ทำหน้าที่ส่งอากาศไปสู่ผู้ป่วยได้เต็มที่ ซึ่งจะป้องกันการั่วไหลของอากาศระหว่างตัวAmbu bag กับใบหน้าของผู้ป่วย ซึ่งการใช้งานนั้นเราจะต้องเลือกหน้าการให้เหมาะสมกับสรีระใบหน้าของผู้ป่วยโดยจะสังเกตจากถ้าหากเป็นเด็กจะเป็นทรงกลม และผู้ใหญ่จะเป็นทรงชมพูเพื่อให้หน้ากากสามารถแนบได้สนิท  ซึ่งในกรณีที่ผู้ป่วยใช้ท่อช่วยหายใจนั้นจะไม่จำเป็นต้องต่อหน้ากากนั้นเอง
  2. ชุดวาล์วผู้ป่วย (NON-REBREATHING VALVE ASSEMBLY) ในส่วนของข้อต่อชุดนนี้จะเป็นข้อต่อที่อยู่ด้านผู้ป่วยที่จะมีวาล์วด้านในเรียกว่า วาล์วปากเป็ด (DUCK BILL VALVE) ที่จะเปิดเมื่อเราบีบลูก Ambu bag เพื่อเปิดทางลมไปยังผู้ป่วยและวาล์วจะปิดเมื่อคลายมือจากลูก Ambu bag เพื่อป้องกันก๊าสคาร์บอนไดออกไซด์จากลมหายใจออกของผู้ป่วยไม่ให้ไหลย้อนกลับเข้าสู่ลูก Ambu bag
  3. ตัวลูกยางบีบช่วยหายใจ (SILICONE BAG INLET) จะเป็นตัวยางซิลิโคน ที่เราทำการเรียกว่า Ambu bag นี้เองจะทำหน้าที่เก็บอากาศหรือออกซิเจนเอาไว้ เมื่อเราบีบและคาย จะสร้างแรงดันที่แตกต่างกันระหว่างภายในลูกAmbu bag กับทางเดินหายใจ ก็จะเปรียบเสมือนการบีบ 1 ครั้ง เป็นการหายใจเข้า 1 ครั้ง และเมื่อคายมือออก 1 ครั้ง จะเปรียบเหมือนเราหายใจออก 1 ครั้ง นั้นเอง
  4. ชุดวาล์วออกซิเจน (OXYGEN RESERVOIR VALVE) จะเป็นข้อต่อ 2 อัน โดยที่อันแรกจะมีความกว้างประมาณ 22 มิลลิเมตร เพื่อเชื่อมต่อกับถุงสำรองออกซิเจน ส่วนอีกอันนั้นจะเชื่อมต่อกับสายออกซิเจน (Oxygen tube) เพื่อนำออกซิเจนความเข้มข้นสูงจากแหล่งจ่ายแก๊ส เช่น ถังออกซิเจน ,ระบบออกซิเจนในโรงพยาบาล หรือ เครื่องผลิตออกซิเจนแรงดันสูง เป็นต้น
  5. ชุดวาล์วควบคุมความดันบวก (PEEP VALVE) จะทำหน้าที่ในการเก็บอากาศไว้ในปอดอยู่เล็กน้อยเพื่อในการหายใจครั้งต่อไปถุงลมจะสามารถขยายตัวได้ง่ายกว่าการดึงลมออกจากปอดทั้งหมด เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานของ Ambu bag ให้ดียิ่งขึ้น
  6. ถุงเก็บเพิ่มสำรองออกซิเจน (OXYGEN RESERVOIR BAG)ที่ทำหน้าที่ในการกักเก็บออกซิเจน 100 % รอส่งไปยังผู้ป่วย เมื่อทำการบีบ Ambu bag แล้ว

 

วิธีการใช้ เครื่องช่วยหายใจชนิดบีบมือ Ambu Bag

  1. จัดผู้ป่วยนอนในท่าหงาย
  2. เอาสิ่งแปลกปลอมภายในช่องปาก ลำคอ หรือภายในบริเวณทางเดินหายใจออก
  3. ใส่ที่กั้นกัดหรือที่กันลิ้นตกบริเวณทางเดินอากาศ (Airway ) เพื่อเปิดปากของผู้ป่วยออกและป้องกันลิ้นปิดทางเดินอากาศ
  4. ให้ท่านยืนอยู่ด้านหลังของศรีษะผู้ป่วยและยืดศรีษะของผู้ป่ายมาทางด้านหลัง
  5. ยกคางให้สูงขึ้น เพื่อเปิดทางเดินอากาศ
  6. นำหน้ากากวางตรงตำแหน่งปากและจมูก กดด้วยนิ้วโป้งและฝ่ามือ ส่วนนิ้วอื่นๆ วางยึดไว้ที่คาง
  7. ใช้มืออีกข้างบีบลูกบีบ เพื่อเป่าลมเข้าปอด
  8. ตรวจสอบให้แน่ใจว่า ถูกต้อง และช่วยหายใจได้มีประสิทธิภาพ

 โดยสังเกต   การขยับขึ้นและลงของหน้าอกผู้ป่วย > ตรวจสอบริมฝีปากและสีหน้าของผู้ป่วยผ่านหน้ากาก > ตรวจสอบว่าด้านในของหน้ากากจะเกิดหมอกระหว่างใช้เครื่องช่วยหายใจหรือไม่

Engine by shopup.com