shopup.com
เครื่องผลิตออกซิเจน ขนาด 10 ลิตร Canta รุ่น HG5-WN-NS เครื่องผลิตออกซิเจน ขนาด 10 ลิตร Canta รุ่น HG5-WN-NS เครื่องผลิตออกซิเจน ขนาด 10 ลิตร Canta รุ่น HG5-WN-NS เครื่องผลิตออกซิเจน ขนาด 10 ลิตร Canta รุ่น HG5-WN-NS เครื่องผลิตออกซิเจน ขนาด 10 ลิตร Canta รุ่น HG5-WN-NS เครื่องผลิตออกซิเจน ขนาด 10 ลิตร Canta รุ่น HG5-WN-NS
รหัส : HG5-WN-NS
เครื่องเพิ่มความเข้มข้นของออกซิเจน เครื่องผลิตออกซิเจน ขนาด 10 ลิตร Canta รุ่น HG5-WN-NS ระดันเสียงการทำงานไม่เกิน 55 dB มีฟังก์ชันพ่นยาแบบปรับระดับความแรงได้ (รับประกัน 3 ปี ศูนย์บริการในประเทศไทย)
จาก 38,900.00 บาท ลดทันที 5400 บาท
ราคา 33,500.00 บาท

26 พฤศจิกายน 2567

ผู้ชม 7910 ผู้ชม

 


ใบอนุญาตโฆษณาเครื่องมือการแพทย์ ฆพ.342/2567
ใบรับแจ้งรายการละเอียดที่ 66-2-2-2-0012045

เครื่องผลิตออกซิเจนขนาด 10 ลิตร รุ่น HG5-WN-NS ยี่ห้อ Canta

 

คุณสมบัติหลัก

  • อัตราการไหลของออกซิเจน 1-10 ลิตร/นาที
  • ความเข้มข้นออกซิเจน 93 +- 3%
  • หน้าจอแสดงผลเวลาที่เปิดเครื่อง ณ ปัจจุบัน
  • หน้าจอแสดงยอดรวมชั่วโมงการทำงานของตัวเครื่อง
  • มีฟังก์ชั่นการตั้งเวลาปิดเองอัตโนมัติ สามารถตั้งได้สูงสุด 5 ชั่วโมง
  • มีฟังก์ชั่นพ่นยาในตัวเครื่อง ปรับแรงลมได้
  • มีการกรองอากาศแบบละเอียด ถึง 2 ชั้น
  • มีไฟแสดงสถานะการทำงานของตัวเครื่อง, ไฟแสดงสถานะออกซิเจน, ไฟแจ้งเตือนอุณหภูมิเครื่องสูง
  • ระบายอากาศ 3 ช่องทาง ซ้าย - ขวา - ด้านล่างของตัวเครื่อง
  • กำลังไฟ 530 วัตต์
  • ใช้กระแสไฟสลับ 230V+- 10% 50Hz
  • ระดับเสียงไม่เกิน 55 เดซิเบล
  • ขนาด 40 x 36.5 x 65 ซม.
  • น้ำหนัก 31 กก.

 

มาตรฐานสินค้า

1.โรงงาน Canta ได้ทำการวิจัยอุปกรณ์การแพทย์มากว่า 23 ปี และได้มีสายการผลิตมากว่า 14 ปี โดยรับทำ OEM , ODM

ให้กับอุปกรณ์การแพทย์แบรนด์ชั้นนำต่างๆ

2.ได้รับการรับรองมาตราฐานการผลิตเครื่องมือแพทย์อย่างเคร่งครัดจนได้รับ ISO13485 ในปี 2005

3.ได้รับการรับรองคุณภาพสินค้าที่ได้มาตราฐาน ISO 13485 และ 9001

4.ได้รับการรับรองจาก European Conformity (CE) มีความปลอดภัย ถูกต้อง ตามข้อกำหนดต่อการใช้งานทางการแพทย์

5.ได้รับการรับรองจากองค์การอาหาร และยาแห่งสหรัฐอเมริกา Food and Drug Administration (FDA)

6.ได้รับการรับรองจาก Restriction of Hazardous Substances (RoHS)



 อุปกรณ์ประกอบในชุด

คู่มือการใช้งาน 1 ชุด
สาย Oxygen Cannula 2 เส้น
ชุดไส้กรองอากาศ 2 ชุด
กระปุกให้ความชื้น

1 ชุด

 

รายการของแถมพร้อมใช้งาน

แถมฟรี เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว หรือ เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟาเรด หรือ เครื่องวัดความดัน หรือ เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด

1 เครื่อง
แถมฟรี สาย Oxygen Cannula 3 ชุด
แถมฟรี ชุดหน้ากากให้ออกซิเจน Mask with Bag 2 ชุด
แถมฟรี น้ำกลั่นทางการแพทย์ 500 ml.

2 ขวด

แถมฟรี ชุดพ่นละอองยา

1 ชุด


 

การรับประกันสินค้า

  • รับประกัน 3 ปี
  • มีศูนย์ให้บริการในประเทศไทย มีเครื่องสำรองให้ใช้ระหว่างรอซ่อมตลอดอายุการใช้งาน
  • บริการถึงสถานที่ (Onsite Service) เฉพาะในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล

 

บริการพิเศษ

  • ฟรี เครื่องสำรองระหว่างซ่อม
  • ฟรี บริการจัดส่งฟรีทั่วประเทศ บริการจัดส่งพร้อมติดตั้งฟรีพร้อมเจ้าหน้าที่แนะนำการใช้งานในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล
  • พิเศษ รองรับการชำระเงินปลายทาง โอนเงินหรือชำระบัตรเครดิตไม่ชาร์จเพิ่ม

บริการหลังการขายเครื่องผลิตออกซิเจน บริการฟรีเครื่องผลิตออกซิเจนสำรอง

บริการจัดส่งเครื่องผลิตออกซิเจนฟรีทั่วประเทศ

 

คำแนะนำและการดูแลรักษาเครื่องออกซิเจน

1.ควรตั้งเครื่องไว้ในบริเวณที่โล่งหรือที่ให้ลมผ่านสะดวก ควรวางห่างจากกำแพง อย่างน้อย 1 ฟุต ไม่ควรวางเครื่องไว้ชิดกำแพง ห้ามวางเครื่องบนโฟม ฟูก พรม และหลีกเลี่ยงการวางเครื่องในพื้นที่ที่ไม่สามารถถ่ายเทอากาศได้ดี

2.การเปิดปิดเครื่องแต่ละครั้งควรเว้นระยะเวลาให้เครื่องเซ็ตอัพอย่างน้อย 5 นาทีเครื่องจะไม่สามารถทำงานได้ ในกรณีไฟฟ้าดับหรือไม่มีไฟฟ้า

3.เครื่องจะไม่สามารถทำงานได้ ในกรณีกระแสไฟฟ้าตกเกิน 10% จากกระแสไฟที่จ่าย

4.ในกรณีที่ไม่ใช้งานควรดึงปลั๊กไฟออกทุกครั้ง

5.ในกรณีเคลื่อนย้ายเครื่องต้องวางเครื่องในแนวตั้งเท่านั้น และถอดกระป๋องนํ้าให้ความชื้น ออกจากเครื่องทุกครั้ง

6.ในกรณีเครื่องมีปัญหาขัดข้องหรือไม่สามารถใช้งานได้ กรุณาติดต่อบริษัทฯ ผู้จัดจำหน่าย

7.ควรหมั่นทำความสะอาดภายนอกเครื่องโดยใช้ผ้าชุบนํ้าหมาดๆ เช็ดให้ทั่วและใช้นํ้ายาฆ่าเชื้อ เช็ดอีกครั้งอย่างสมํ่าเสมอ

8.ควรเปลี่ยนไส้กรองในเครื่องอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน (ติดต่อบริษัทฯ ผู้จัดจำหน่าย)

 

 

วิธีการเลือกซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนทางการแพทย์ ซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนอย่างไร ซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนรุ่นไหนดี

หลักการทำงานเครื่องผลิตออกซิเจน และวิธีการเลือกเครื่องผลิตออกซิเจน ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์และการใช้งาน

หลักการทำงานของเครื่องผลิตออกซิเจน

     สำหรับอากาศทั่วไปประกอบด้วยไนโตรเจน 78 เปอร์เซ็นต์ และออกซิเจน 21 เปอร์เซ็นต์ อีกเพียง 1 เปอร์เซ็นต์จะเป็นแก๊สชนิดอื่นๆ เครื่องผลิตออกซิเจน จะเปลี่ยนอากาศโดยรอบโดยอาศัยหลักการ pressure swing adsorption หรือ PSA โดยเทคนิคนี้ จะใช้สารดูดซับประเภทซีโอไลท์ (zeolite) เพื่อทำการดูดซับไนโตรเจนออกจากอากาศที่ความดันสูง โดยไนโตรเจนจะยึดติดกับผิวของสารซีโอไลท์ เนื่องจากซีโอไลท์มีพื้นผิวสัมผัสมากจึงสามารถจับกับแก๊สไนโตรเจนที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก สารจะดูดซับก๊าซไว้ได้เป็นจำนวนมาก เมื่อความดันต่ำลงไนโตรเจนก็จะถูกปล่อยทิ้ง ส่วนออกซิเจนก็จะถูกปล่อยออกมาเพื่อใช้งานที่มีความบริสุทธิ์ประมาณ 96% เหมือนเป็นการกรองแก๊สไนโตรเจนออกจากแก๊สออกซิเจนนั่นเอง


เครื่องผลิตออกซิเจน แบ่งได้ เป็น 2 ชนิด ตามการใช้งาน

 

1.ชนิด Continuous Flow Oxygen Concentrators

จะปล่อยออกซิเจนออกมาได้ต่อเนื่อง ใช้เพื่อรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ในโรงพยาบาล และสถานพยาบาล แม้แต่ใช้พักฟื้นที่บ้าน มีขนาดสเปคตั้งแต่ 3 ลิตร ขนาด 5 ลิตร ไปจนถึงขนาด 10 ลิตร ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการนำไปใช้งาน

 

2.ชนิด Pulse Dose Portable Concentrators

เครื่องผลิตออกซิเจนแบบ Pulse Dose สามารถผลิตออกซิเจนให้ได้ในระยะสั้นๆตามการหายใจเข้า ส่งผลให้ไม่มีการสูญเสียออกซิเจนให้สูญเปล่า สามารถช่วยในเรื่องการประหยัดพลังงาน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการออกซิเจนไม่มากนัก และสำหรับต้องการออกซิเจนแบบพกพาเพื่อทำกิจกรรมนอกบ้าน เครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพา

การจับจังหวะการหายใจไม่ว่าผู้ใช้จะหายใจช้าหรือเร็วเครื่องก็สามารถจับจังหวะการหายใจและปล่อยออกซิเจนได้อย่างเหมาะสมในแต่ละบุคคล ระบบแบบ pulse dose ส่วนใหญ่สามารถปรับได้ประมาณ 1 - 5 ระดับ โดยที่ค่าความเข้มข้นของออกซิเจนจะไม่ลดลง ซึ่งจะมีความบริสุทธิ์อยู่ที่ 93+- 3% ในทุกระดับ

 

ทราบได้อย่างไรว่าควรเลือกซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนขนาดกี่ลิตร

แพทย์จะกำหนดให้ผู้ป่วยทราบว่าผู้ป่วยจะต้องการออกซิเจนเท่าใด (ลิตรต่อนาที) ก่อนซื้อต้องมั่นใจว่าเครื่องผลิตออกซิเจนสามารถให้ออกซิเจนในปริมาณที่เพียงพอสำหรับความต้องการของผู้ใช้งานหรือไม่

 

การให้ออกซิเจนบำบัดที่บ้าน (Oxygen Therapy)

การพิจารณาให้ออกซิเจนที่บ้านจะใช้เกณฑ์ที่แตกต่างจากกรณีที่อยู่ในโรงพยาบาล คือเป็นการให้ออกซิเจนในภาวะปกติของผู้ป่วยรายนั้นนั่น

1.กรณีที่ต้องการให้ออกซิเจนต่อเนื่อง

  • วัดความอิ่มตัวของออกซิเจนจากปลายนิ้ว (SpO2) ได้น้อยกว่า 88 %
  • วัด SpO2 ได้ 88-90% แต่มีภาวะหรือโรคที่บ่งบอกถึงภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรังขึ้นแล้ว จากการประเมินของแพทย์

2.กรณีที่ต้องให้ออกซิเจนเฉพาะบางโอกาส

  • ให้ออกซิเจนขณะออกกำลังกาย หรือหลังออกกำลังกาย SpO2 น้อยกว่า 88%
  • ให้เฉพาะขณะนอนหลับ ถ้าขณะหลับ SpO2 ต่ำกว่า 88 %

ทั้งสองภาวะเบื้องต้นนี้สามารถประเมินโดยการตรวจจับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด ซึ่งอาจจะได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ผู้ดูแลก่อนจะดีที่สุด

 

อุปกรณ์สำหรับให้ออกซิเจน

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่ต้องได้ออกซิเจนที่บ้าน มักใช้เพียงอุปกรณ์ชนิด nasal cannula หรือสายออกซิเจนแบบผ่านจมูก เพราะภาวะพร่องออกซิเจนมักจะต่ำและไม่รุนแรงมากนัก อย่างไรก็ตามก็มีผู้ป่วยโรคปอด หรือโรคหัวใจบางรายที่มีภาวะขาดออกซิเจนที่รุนแรงแต่เรื้อรังมากๆ จำเป็นต้องรักษาตัวที่บ้าน จึงต้องมีการใช้อุปกรณ์สำหรับให้ออกซิเจนในรูปแบบอื่นๆ ด้วยดังนี้

 

1. nasal cannula หรือสายออกซิเจนแบบผ่านจมูก

ใช้สำหรับอัตราการไหลของออกซิเจน 1-6 ลิตร/นาที สายเล็กๆ ที่นำออกซิเจนควรอยู่ลึกในจมูกประมาณ 1 ซม. ข้อดีคือผู้ป่วยจะรู้สึกสบายกว่าอุปกรณ์แบบอื่นและมีราคาถูก

ความเข้มข้นของออกซิเจนที่ผู้ป่วยได้รับ (FiO2)

1 L/min = 24 %

2 L/min = 28 %

3 L/min = 32 %

4 L/min = 36 %

5 L/min = 40 %

6 L/min = 44 %

ข้อจำกัด

ความเข้มข้นของออกซิเจนที่ผู้ป่วยได้รับแปรผันตามการหายใจ ถ้าหายใจเร็ว หอบอยู่ สัดส่วนของอากาศปกติก็จะมาก ทำให้ความเข้มข้นลดลง และถ้าเปิดออกซิเจนแรง จะทำให้ระคายเคืองเยื่อบุจมูก

 

2. Simple Oxygen Mask หรือหน้ากากออกซิเจน

ใช้สำหรับอัตราการไหลของออกซิเจน 5-8 ลิตร/นาที การใช้ต้องครอบให้แนบสนิทกับหน้า

ความเข้มข้นของออกซิเจนที่ผู้ป่วยได้รับ (FiO2)

5-8 L/min = 50-60%

ข้อจำกัด

ห้ามเปิดออกซิเจน น้อยกว่า 5 L/min เพราะจะทำให้ลมหายใจเดิมค้างในหน้ากาก ผู้ป่วยจะหายใจเอาอากาศเดิมเข้าไปใหม่ได้ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจะรู้สึกอึดอัด ไม่สบาย

 

3. High Concentration Oxygen Re breathing Mask with Bag หรือหน้ากากออกซิเจนมีถุง

ใช้สำหรับอัตราการไหลของออกซิเจน 6-10 ลิตร/นาที การใช้ต้องครอบให้แนบสนิทกับหน้า สังเกตว่าถุงมีการยุบพอง ตามจังหวะการหายใจของคนไข้

ความเข้มข้นของออกซิเจนที่ผู้ป่วยได้รับ (FiO2)

6-10 L/min = 55-70 %

ข้อจำกัด

ห้ามเปิดออกซิเจน น้อยกว่า 6 L/min อื่นๆ เช่นเดียวกับ simple mask

 

ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ

ออกซิเจนในเลือดต่ำ หมายถึง แรงดันของออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ หรือวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดได้น้อยกว่าปกตินั่นเอง เครื่องที่ใช้ตรวจวัดสะดวกแพร่หลายจะเป็น การวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน เพราะสามารถวัดได้จากภายนอก โดยใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์  ที่ไม่ยุ่งยาก และซับซ้อน เราจะวัดโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า pulse oximeter (เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว) โดยปกติค่าเฉลี่ยของคนทั่วไปความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดจะอยู่ที่ 96 – 100%  ของความอิ่มตัวสูงสุด 

หากค่า 95 % หรือต่ำกว่า มีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ควรปรึกษาแพทย์ **หากมีโรคประจำตัวบางกลุ่ม หรือสูบบุหรี่จัดอาจส่งผลให้ความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติได้** ในกรณีออกซิเจนต่ำที่เป็นเรื้อรังแล้วร่างกายมีการปรับตัว มักจะไม่มีอาการของการขาดออกซิเจน จนกว่าออกซิเจนจะเริ่มต่ำกว่า 90% เมื่อออกซิเจนในเลือดต่ำ เริ่มแรกเลยร่างกายจะพยายามปรับสมดุลในตัวเอง เพื่อรักษาระดับออกซิเจนไม่ให้ตกก่อน โดยการหายใจที่เร็วขึ้น แรงขึ้น หัวใจก็พยายามสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ มากขึ้น โดยจะเต้นเร็วและแรงขึ้นด้วยเช่นกัน ความดันโลหิตก็จะสูงขึ้น

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

  • เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วใช้อย่างไร./https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2/
  • นพ.สุรพันธ์ เจริญธัญรักษ์.ใส่ O2 canula ได้ FiO2 เท่าไร ?.https://www.facebook.com/kkhsepsis
  • หลักการให้ออกซิเจนกับผู้ป่วย. https://www.medi2you.com/oxygen-concentrator/

 

หมายเหตุ ติดต่อบริษัทฯผู้จัดจำหน่าย 099 018 8800

เวลาทำการ : เปิดทุกวัน เวลา 08.30-17.30 น.

 

**เครื่องผลิตออกซิเจนไม่ใช่อุปกรณ์ช่วยชีวิต**

**การใช้เครื่องผลิตออกซิเจนควรอยู่ในคำแนะนำของแพทย์** 

**กรุณาอ่านคู่มือและใช้งานตามคำแนะนำอย่างระมัดระวัง**

 

Engine by shopup.com