ดูบทความ
ดูบทความช่วยชีวิตผู้ป่วยจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน โดยเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ เครื่อง AED
ช่วยชีวิตผู้ป่วยจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน โดยเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ เครื่อง AED
ช่วยชีวิตผู้ป่วยจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน โดยเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ เครื่อง AED
คำแนะนำและขั้นตอนในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหัวใจด้วยเครื่อง AED
อุปกรณ์ที่คุณอาจพบเห็นได้ในสถานที่ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า บริษัทใหญ่ ๆ หรือโรงแรม สถานที่ที่มีคนพลุกพล่านเป็นจำนวนมาก จะมีเครื่อง AED หรือ Automated External Defibrillator เป็นเครื่องช่วยกระตุกหัวใจแบบอัตโนมัติ ใช้งานง่าย ไม่เหมือนกับเครื่องปั๊มหัวใจขนาดใหญ่ที่พบเห็นได้ในสถานพยาบาล เป็นการนำกระแสไฟเข้ากระตุ้นการทำงานของหัวใจหลังจากที่มีอาการหยุดเต้น หรือหัวใจวาย ซึ่งในปัจจุบันมีการรณรงค์ให้ทุกคนเรียนรู้วิธีการปั๊มหัวใจขั้นพื้นฐาน เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่รถกู้ภัยจะไปถึงได้
สำหรับเครื่อง AED แบบอัตโนมัติ ส่วนใหญ่จะมีขนาดพกพาง่าย ทำให้ผู้ที่ได้รับการฝึกการใช้งานมาแล้วสามารถใช้งานได้ และแน่นอนว่าทุกการกระทำต้องอยู่ภายใต้การให้คำแนะนำผ่านสายด่วน 1669 เพื่อให้สามารถปฏิบัติการปั๊มหัวใจได้อย่างถูกต้องและไม่เป็นอันตราย โดยอุปกรณ์การช่วยชีวิตนั้นจะมาพร้อมกับแผ่นอิเล็กโทรดที่จะมีสองชิ้น ให้ไปติดที่ทรวงอกของผู้ป่วย ตามที่ได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางปลายสาย โดยคุณสามารถหาเครื่องนี้พบได้ทั่วไปในพื้นที่สาธารณะ และสามารถใช้งานได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน สามารถปั๊มหัวใจให้กลับมาเต้นอีกครั้งได้ หรือช่วยให้จังหวะหัวใจกลับมาเต้นตามปกติได้
วิธีการใช้งานเครื่อง AED ฉบับประชาชนทั่วไป
ขั้นตอนการช่วยชีวิตคนไม่ได้ยากอย่างที่คิด แน่นอนว่านอกจากจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของสายด่วน 1669 คุณยังต้องทราบพื้นฐานการใช้งานก่อนด้วย โดยสามารถปฏิบัติตามได้ดังนี้
- พยายามปลุกเรียกก่อน ให้คุณสามารถปลุกเรียกผู้ที่หมดสติหรือมีการหยุดหายใจกะทันหันก่อน ด้วยการเขย่าไหล่ทั้งสองข้างพร้อมตะโกนด้วยเสียงดัง
- โทรขอความช่วยเหลือแล้วนำเครื่อง AED ออกมา ให้คุณโทรแจ้งหน่วยงานให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินที่เบอร์ 1669 หรืออาจจะให้คนอื่นโทรให้ แล้วตัวคุณนำเครื่อง AED ออกมาใช้งาน ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่าผู้ป่วยหายใจหรือไม่ หรือไม่รู้สึกตัวไหม แล้วจัดให้ผู้ป่วยนอนหงาย
- ปั๊มหัวใจด้วยแรงกดจากเราก่อน ให้คุณทำการปั๊มหัวใจเองก่อน ด้วยการกดส้นมือลงตรงกึ่งกลางระหว่างกระดูกหน้าอก แล้วกดด้วยความเร็ว 100 ครั้งต่อนาที โดยให้นวดกดตรงบริเวณหัวใจลึก 2 นิ้ว
- คุยต่อกับเจ้าหน้าที่ผ่านทางโทรศัพท์ ทำตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ปลายสายด้วยการวางแผ่นแปะที่ชายโครงด้านซ้าย และอีกแผ่นให้อยู่ตำแหน่งที่ต่ำกว่าไหปลาร้าด้านขวา เมื่อแปะแล้วเครื่องจะทำการวิเคราะห์การเต้นของหัวใจ ให้เรานำมือออกจากตัวผู้ป่วย อย่าลืมถอดเครื่องประดับ และทำตัวผู้ป่วยให้แห้งด้วยการเช็ดเหงื่อออกให้หมดก่อนติดแผ่นแปะ
- กดปุ่มช็อกไฟฟ้า โดยปกติตัวเครื่องจะมีการแจ้งบอกเป็นเสียงว่า ต้องทำอย่างไรต่อไปบ้าง เมื่อวิเคราะห์การเต้นของหัวใจมาแล้ว ทำการกดช็อกไฟฟ้าไปที่ตำแหน่งแผ่นแปะได้เลย ในระหว่างนี้ ตัวคุณห้ามสัมผัสผู้ป่วยเด็ดขาด
- ทำ CPR ตามคำแนะนำของเครื่อง เมื่อทำการช็อกเสร็จแล้ว ตัวเครื่องจะบอกขั้นตอนต่อไป ให้ทำ CPR ซึ่งคุณสามารถปฏิบัติตามได้ตามคำแนะนำของเครื่อง ที่ตำแหน่งและการกดที่แนะนำไปเมื่อข้างต้นที่ 100 ครั้งต่อนาที
- เมื่อผู้ป่วยรู้สึกตัวแล้วให้พลิกตะแคงตัวกลับ หากผู้ป่วยรู้สึกตัวและสามารถตอบโต้ได้บ้างแล้ว ให้ทำการพลิกตัวกลับทันที เพื่อให้หายใจได้สะดวก แต่หากทำทั้งหมดนี้แล้วยังไม่ได้ผล ก็ต้องรอให้ทางทีมกู้ภัยสายด่วน 1669 มาถึงก่อนจึงจะช่วยได้
สิ่งที่ต้องตระหนักในระหว่างการช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉิน
มีอยู่ 3 อย่างด้วยกันที่ต้องพิจารณาก่อนและระหว่างทำการช่วยเหลือ ผู้ป่วยหัวใจวาย หรือหัวใจหยุดเต้น เรียกว่าเป็นกฎ 3H ซึ่งประกอบไปด้วย
- Hazard คือให้ตรวจสอบสภาวะเสี่ยงของผู้ป่วยดูก่อน ว่าบริเวณนั้น มีอะไรที่อันตรายการต่อช่วยเหลือด้วยเครื่อง AED หรือไม่ หากมีให้เคลื่อนย้ายออกไปก่อน
- Help โทรเรียก 1669 เพื่อให้การช่วยเหลือ และในขณะเดียวกันก็ปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำ เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยตามที่เจ้าหน้าที่แจ้งด้วย
- Hello เข้าไปปลุกผู้ป่วย แล้วช่วยเหลือตามแนวทางที่ระบุไว้ พยายามให้ผู้ป่วยฟื้นและสามารถตอบสนองได้บ้าง หากไม่ ก็ให้ใช้ AED เข้ามาช่วยทันที เพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยได้
เครื่อง AED สามารถเก็บไว้ในตัวบ้าน และสถานที่ทำงานได้
คงพอจะเห็นประโยชน์ในการช่วยชีวิตจากเครื่อง AED มาแล้ว ซึ่งโดยส่วนใหญ่ทางภาครัฐจะแนะนำให้ทำการติดตั้งเครื่องที่มีขนาดเล็กนี้ไว้ในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน อย่างเช่นโรงงาน ในตัวตึกขนาดใหญ่ และพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ ซึ่งเครื่องเหล่านี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลและได้รับการตรวจเช็กอยู่เป็นประจำจากเจ้าของสถานที่ หรือผู้รับผิดชอบสถานที่นั้น ๆ ซึ่งแน่นอนว่าต้องติดตั้งไว้ในที่ที่สามารถหาเจอได้ง่าย และนำไปใช้ในการช่วยเหลือผู้ป่วยได้เลยทันที
รู้ไว้ไม่เสียหายเผื่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน คุณสามารถเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือได้ก่อนสาย
แน่นอนว่าตัวเครื่องนี้นั้น จะใช้โดยไม่มีความรู้พื้นฐานเลยไม่ได้ เพราะว่าอาจส่งผลให้เกิดอันตรายมากกว่าการจะช่วยชีวิต เพราะฉะนั้นเครื่องมือนี้จึงได้บรรจุเสียงในการแนะนำขั้นตอน เพื่อการปฏิบัติในขั้นตอนต่าง ๆ เป็นไปอย่างถูกต้องและตรงจุดที่สุด โชคดีที่เครื่องมือนี้ไม่ได้ใช้งานซับซ้อนมาก คุณจึงสามารถทำตามได้ และยังอยู่ภายใต้การดูแลและกำกับของหน่วยงานผู้ให้ความช่วยเหลือผ่านทาง 1669 เพื่อให้มั่นใจได้ว่า คุณจะได้รับคำแนะนำในการใช้งานอย่างถูกต้อง และไม่เป็นอันตรายต่อทั้งตัวคุณเองและผู้ป่วย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
Customer services : 096-924-6604
Facebook : @AdlerMedicalSupply
Line@ : https://page.line.me/adlermed
Website : https://www.adlerthailand.com
21 พฤศจิกายน 2567
ผู้ชม 759 ครั้ง