ดูบทความ
ดูบทความผู้ป่วยติดเตียง ต้องนอนบนเตียงผู้ป่วยนาน ๆ กับอาการข้างเคียงที่พบบ่อย
ผู้ป่วยติดเตียง ต้องนอนบนเตียงผู้ป่วยนาน ๆ กับอาการข้างเคียงที่พบบ่อย
ผู้ป่วยติดเตียง ต้องนอนบนเตียงผู้ป่วยนาน ๆ กับอาการข้างเคียงที่พบบ่อย
อาการข้างเคียงของผู้ป่วยติดเตียงที่ต้องระวัง พร้อมวิธีแก้ไขที่ทำได้แม้อยู่บนเตียงผู้ป่วย
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่ร่างกายขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวไม่ได้ หรือขยับได้เพียงเล็กน้อยนั้น เป็นสิ่งที่ผู้ดูแลผู้ป่วยต้องให้ความใส่ใจมากเป็นพิเศษ และต้องใช้พลังงานในการดูแลมากกว่าการดูแลผู้ป่วยปกติ เพราะผู้ป่วยติดเตียงนั้น มีความเสี่ยงจะเกิดอาการแทรกซ้อนได้ง่าย ด้วยเพราะร่างกายที่ไม่ได้เคลื่อนไหวตามปกติ สามารถก่อให้เกิดอาการข้างเคียงได้หลายอย่าง
ตัวอย่างอาการข้างเคียงของผู้ป่วยติดเตียงที่ผู้ดูแลต้องระวังเป็นอย่างมาก
- แผลกดทับ (Pressure Sore) ปัญหาสุขภาพที่สำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ของผู้ป่วยติดเตียง คือแผลกดทับ เพราะผู้ป่วยต้องนอนท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ ทำให้ผิวหนังบริเวณที่แนบติดกับเตียงผู้ป่วย ต้องรับแรงกดจากน้ำหนักตัวเป็นระยะเวลานาน จนกลายเป็นแผลกดทับในที่สุด โดยจะเริ่มต้นจากการเป็นรอยแดงช้ำก่อน และหากผู้ป่วยยังไม่มีการขยับตัวเปลี่ยนท่านอน แผลกดทับก็จะกินเนื้อลงไปลึกและขยายเป็นวงกว้างขึ้น ในกรณีที่ร้ายแรงแผลกดทับอาจกินลึกถึงกระดูก ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ซึ่งบริเวณที่มักเกิดแผลกดทับ และต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ แผ่นหลัง สะโพก ก้นกบ ส้นเท้า ตาตุ่ม และข้อศอก
ผู้ดูแลผู้ป่วยจึงควรพลิกตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง โดยใช้อุปกรณ์ช่วยพลิกตัว เพื่อให้สามารถพลิกตัวผู้ป่วยได้สะดวกขึ้น หรืออาจใช้หมอนและที่นอนที่ออกแบบมาให้ช่วยป้องกันการเกิดแผลกดทับบนตัวผู้ป่วยโดยเฉพาะ เช่น ที่นอนลมป้องกันแผลกดทับแบบรังผึ้ง , ที่นอนลมป้องกันแผลกดทับ แบบลอน พร้อมมอเตอร์ไฟฟ้า, ที่นอนเพื่อสุขภาพ ที่นอนยางพารา หรือที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ ทั้งนี้ควรใช้ร่วมกับเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่สามารถพับราวกั้นตรงขอบเตียงลงได้ เพื่อความสะดวกในการพลิกตัวผู้ป่วย - สำลักอาหาร การป้อนอาหารให้ผู้ป่วยในขณะที่นอนอยู่บนเตียงผู้ป่วยนั้น จะทำให้เกิดปัญหาในการกลืนอาหาร เพราะหลอดอาหารของผู้ป่วยไม่ได้อยู่ในองศาที่สะดวกต่อการกลืนอาหาร และอาจเป็นเพราะผู้ป่วยมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือมีปัญหาในการกลืนอาหารร่วมด้วย จึงทำให้สำลักอาหารได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายอย่างมาก เพราะอาหารอาจติดคอผู้ป่วยและทำให้ขาดอากาศหายใจ หรือหากอาหารหลุดเข้าไปติดอยู่ในทางเดินหายใจ ก็อาจทำให้เกิดอาการปอดติดเชื้อตามมา
ดังนั้นผู้ดูแลควรจับผู้ป่วยลุกขึ้นนั่ง โดยสามารถใช้อุปกรณ์ช่วยยกตัวผู้ป่วยในการพยุงตัวขึ้นนั่งบนเตียงผู้ป่วย ที่ไขหัวเตียงให้ตั้งขึ้นทำมุม 60 - 90 องศา เพื่อให้อาหารผ่านลงไปในหลอดอาหารของผู้ป่วยได้โดยสะดวก แต่หากเตียงผู้ป่วยเป็นเตียงแบบธรรมดาที่ไม่สามารถไขหัวเตียงขึ้นเป็นแนวตั้งได้ ก็ควรให้ผู้ป่วยนั่งพิงหมอนระหว่างการรับประทานอาหาร
ส่วนผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารผ่านทางสายยาง ผู้ดูแลควรจัดระดับศีรษะของผู้ป่วยให้สูงกว่าลำตัว และทำมุม 30 - 45 องศา ก่อนจะทำการให้อาหารทางสายยาง และเมื่อให้อาหารเสร็จแล้ว ก็ควรปล่อยให้ผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียงผู้ป่วยในท่านั้นอีกประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมา ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสำลักอาหารได้
ดังนั้นหากจะเลือกซื้อเตียงผู้ป่วยเพื่อนำไปใช้ที่บ้าน จึงควรเลือกซื้อเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่ฟังก์ชันพื้นฐานครบ เตียงไฟฟ้า 4 ฟังก์ชั่น (Wooden Electric) และแบบมีหลายฟังก์ชั่น เช่น เตียงไฟฟ้า 6 ฟังก์ชัน รุ่นต่ำพิเศษ (Ultra Low) ที่สามารถปรับระดับความสูงให้ต่ำลงได้มากที่สุด ทำให้มีความปลอดภัยต่อผู้ป่วยสะดวกในการลุกนั่ง ช่วยลดโอกาสพลัดตกจากเตียง และยังสามารถปรับฟังก์ชันต่างๆได้ถึง 10 รูปแบบ เหมาะทั้งสำหรับการป้อนอาหารให้ผู้ป่วย และการทำกายภาพบำบัดให้ผู้ป่วย
หรือหากผู้ป่วยยังพอลุกนั่งได้ ยังขับถ่ายเองได้ และผู้ดูแลต้องการความสะดวกในการทำความสะอาดร่างกาย ให้กับผู้ป่วย ก็ควรเลือกเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าแบบ Multifunction ที่สามารถพลิกตะแคงเตียงผู้ป่วยไปข้างซ้ายหรือขวาได้ และปรับให้มีลักษณะเหมือนเก้าอี้ได้ เพื่อความสะดวกในการสระผม หรือการขับถ่าย เพราะมีการเพิ่มที่วางภาชนะรองรับของเสียอยู่ตรงบริเวณโครงสร้างใต้พื้นเตียงผู้ป่วยด้วย
- ข้อติดและกล้ามเนื้อฝ่อลีบ (Muscle Atrophy)
หากผู้ป่วยต้องนอนติดเตียง และร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหวติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้เกิดอาการข้อติด ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยเหยียดหรืองอข้อนิ้วมือ ข้อมือ หรือข้อพับแขนขาไม่ได้เต็มที่ และอาจมีอาการเจ็บตรงข้อร่วมด้วย ขณะทำการเหยียดหรืองอข้อในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และในส่วนของกล้ามเนื้อนั้น หากไม่มีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวเลย ก็จะทำให้กล้ามเนื้อแขนขาฝ่อลงและลีบแบนในที่สุด ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถยืนหรือเดินได้เองตามปกติ จึงควรมีการทำกายภาพบำบัดให้ผู้ป่วยเป็นประจำทุกวัน โดยผู้ดูแลสามารถทำได้บนเตียงผู้ป่วยเลยเพื่อความสะดวก ซึ่งในส่วนของการบริหารกล้ามเนื้อแขนขานั้น จะต้องทำการยกแขนและขาทั้งสองข้างของผู้ป่วยขึ้นจากเตียงผู้ป่วยช้า ๆ และค่อย ๆ วางลงบนเตียงผู้ป่วยเบา ๆ
ส่วนการบริหารข้อนั้นมีหลายบริเวณที่ต้องทำกายภาพบำบัด ซึ่งในส่วนของข้อไหล่ สามารถทำได้โดยการจับแขนผู้ป่วยกางออกจากตัวเบา ๆ จากนั้นจึงจับแขนผู้ป่วยดันเข้าหาตัวช้า ๆ ทำติดต่อกันสัก 10 ครั้ง จะช่วยลดการติดของข้อไหล่ได้
ในส่วนของการบริหารข้อศอก ให้จับแขนของผู้ป่วยยกขึ้นจากเตียงผู้ป่วย แล้วพับแขนเข้าให้ปลายนิ้วมือแตะหัวไหล่ สลับกับการเหยียดแขนกลับคืนเป็นเส้นตรง เพื่อช่วยให้ข้อต่อบริเวณข้อศอกสามารถยืดเหยียดได้โดยไม่ติดขัด จากนั้นจึงบริหารข้อมือและข้อนิ้วมือ ด้วยการให้ผู้ป่วยกำมือแน่น ๆ และคลายออกสลับกัน แล้วจึงบริหารข้อมือด้วยการหมุนข้อมือของผู้ป่วยเบา ๆ และช้า ๆ การทำเช่นนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกำมือและหยิบจับสิ่งของได้ตามปกติ - ภาวะปอดแฟบ (Atelectasis) ผู้ป่วยติดเตียงที่นอนอยู่บนเตียงผู้ป่วยนาน ๆ จะทำให้มีการหายใจที่ตื้นกว่าปกติและปอดจะไม่ขยาย ส่งผลให้เกิดอาการปอดแฟบในที่สุด ซึ่งผลกระทบของอาการปอดแฟบ คือผู้ป่วยจะเหนื่อยหอบง่าย และผู้ป่วยบางรายอาจหายใจไม่ออก หรือหายใจไม่สะดวก ผู้ดูแลจึงควรให้ผู้ป่วยฝึกบริหารปอดอยู่เสมอ เพื่อช่วยขยายปอด กระตุ้นกล้ามเนื้อกระบังลม และช่วยเพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกาย
และนอกจากนี้ผู้ดูแลยังควรจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งบนเตียงผู้ป่วยบ้างในเวลากลางวัน เพราะท่านั่งจะช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกและลึกขึ้นกว่าท่านอน จึงควรเลือกซื้อเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่สามารถปรับโครงสร้างของเตียงให้รองรับท่านั่งเหมือนเก้าอี้ได้ เช่น เตียงผู้ป่วยไฟฟ้ารุ่น Multifunction ที่พลิกตะแคงข้างซ้าย-ขวาได้ พร้อมเพิ่มฟังก์ชันปรับนั่ง และเตียงไม้ 5 ฟังก์ชั่น รุ่นต่ำพิเศษ (Wooden Electric), เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า 5 ฟังก์ชั่น รุ่นปีกนก, เตียงไฟฟ้า 6 ฟังก์ชัน รุ่นต่ำพิเศษ (Ultra Low), เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า 8 ฟังก์ชัน Super Low ปรับตำพิเศษ รุ่น ปีกนกแกรนด์ ดีลักซ์ (Grand Deluxe Hospital Bed) ที่สามารถปรับบริเวณหัวเตียงและท้ายเตียงให้ตั้งขึ้นได้ ทำให้เวลาปรับนั่งจะคล้ายท่านั่งเก้าอี้ และผู้ป่วยสามารถใช้ฟังก์ชันนี้บริหารการร่างกายให้มีการไหลเวียนของเลือดได้ดีอีกด้วย
ส่วนในกรณีที่ผู้ป่วยหายใจลำบาก หรือหายใจไม่ออก ควรใช้เครื่องผลิตออกซิเจนกับคนไข้ โดยควรเลือกซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น ต้องให้แพทย์เป็นผู้แนะนำว่าผู้ป่วยเหมาะกับเครื่องผลิตออกซิเจนแบบไหน เพราะผู้ป่วยแต่ละคนมีความต้องการในการใช้ออกซิเจนที่แตกต่างกัน และยังควรเลือกซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนโดยพิจารณาถึงอัตราการไหลของออกซิเจนด้วย และเมื่อนำมาใช้งาน ก็ต้องปรับอัตราการไหลของออกซิเจนให้เป็นไปตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด
และเครื่องผลิตออกซิเจนนั้น มีทั้งให้ออกซิเจนแบบผ่านจมูก ซึ่งมีลักษณะเป็นสายยางเล็ก ๆ และมีท่อสอดเข้าไปในจมูกส่วนหน้า กับแบบให้ออกซิเจนผ่านทางหน้ากากออกซิเจน ซึ่งจะเป็นหน้ากากแบบมีถุงสำรองอากาศ กับแบบไม่มีถุงสำรองอากาศ ซึ่งการให้ออกซิเจนทั้งสองรูปแบบนี้ ผู้ดูแลควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาวะทางร่างกายของผู้ป่วย นอกจากนี้เครื่องผลิตออกซิเจน ยังมีแบบพ่นละอองยา สำหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้ตามแพทย์สั่ง และยังมีเครื่องผลิตออกซิเจนรุ่นเสียงเงียบให้เลือกใช้อีกด้วย - ภาวะสับสน (Delirium)
เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียง ไม่ได้ขยับตัวเป็นเวลานาน ไม่ได้ออกกำลังเคลื่อนไหวร่างกาย ทำให้ออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงสมองได้น้อย ส่งผลให้ในบางครั้งผู้ป่วยอาจมีอาการมึนงง สับสน และสมองไม่แจ่มใส และในผู้ป่วยที่มีอาการหนัก อาจทำให้ดูคล้ายมีอาการทางจิต ซึ่งในความจริงแล้วอาการผิดปกติเหล่านั้นเป็นอาการทางสมอง ที่สามารถแก้ไขได้ ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมในห้องของผู้ป่วยให้มีแสงสว่างในช่วงกลางวัน เพื่อให้สมองตื่นตัว และจัดให้ห้องมืดสนิทในเวลากลางคืน เพื่อไม่ให้มีแสงเข้าไปรบกวนการนอนของผู้ป่วย และควรมีการพูดคุยกับผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ หรือหากิจกรรมง่าย ๆ ให้ผู้ป่วยที่ยังพอขยับตัวได้ ได้ทำแก้เบื่อในระหว่างวัน เช่น เปิดทีวีให้ดู หรือเปิดเพลงผ่อนคลายให้ผู้ป่วยฟัง
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้น แม้ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคนรอบข้างและผู้ดูแลแต่หากใส่ใจในการเลือกหาอุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยที่เหมาะสม เช่น เตียงผู้ป่วยที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานหลากหลาย หรือเครื่องผลิตออกซิเจนที่มีคุณภาพก็จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลได้มากขึ้น และการดูแลผู้ป่วยติดเตียงก็จะไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินรับมืออีกต่อไป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
Customer services : 096-924-6604
Facebook : @AdlerMedicalSupply
Line@ : https://page.line.me/adlermed
Website : https://www.adlerthailand.com
10 มีนาคม 2566
ผู้ชม 10454 ครั้ง