shopup.com

ดูบทความฟังก์ชั่นการใช้งานของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่ครบครัน

ฟังก์ชั่นการใช้งานของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่ครบครัน

ฟังก์ชั่นการใช้งานของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่ครบครัน

เลือกฟังก์ชั่นการใช้งานเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าอย่างไรให้ตอบโจทย์

         เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าเป็นเตียงที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อการช่วยรองรับการดูแลและการช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยพักฟื้น ผู้ป่วยติดเตียง รวมถึงผู้สูงอายุที่มีสุขภาพร่างกายถดถอยลงไปตามกาลเวลาจนทำให้ไม่สามารถประคองตัวเองเพื่อลุกขึ้นนั่งหรือยืนได้อย่างสะดวก สามารถช่วยเหลือตัวเองในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ดูแล และเพื่อเป็นการช่วยกระตุ้นให้ผู้ป่วยและผู้สูงอายุเกิดความภาคภูมิใจในตัวเองมากขึ้นจากการที่สามารถลงมือทำและควบคุมสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง โดยปัจจุบันนี้ เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่มีวางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดนั้นได้ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้มีฟังก์ชั่นในการใช้งานที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถช่วยตอบโจทย์ความต้องการในการใช้งานเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าในผู้ป่วยและผู้สูงอายุแต่ละรายได้อย่างสะดวกและปลอดภัยมากที่สุด โดยสำหรับฟังก์ชั่นสำคัญที่ญาติและผู้ดูแลควรเลือกพิจารณาประกอบการเลือกซื้อเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าให้กับผู้ป่วยและผู้สูงอายุ มีดังนี้

 

ฟังก์ชั่นสำคัญที่ควรมีในเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าเพื่อการใช้งานแบบครบครัน

  1. ฟังก์ชั่นการปรับระดับความสูงของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า
             บ่อยครั้งที่การเกิดอุบัติเหตุในผู้ป่วยที่กำลังพักฟื้นและผู้สูงอายุมักจะเกิดขึ้นในระหว่างที่กำลังก้าวขาเพื่อลุกขึ้นจากเตียงนอนที่มีความสูงของระดับเตียงที่มากจนเกินไป จนทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการสะดุดหกล้มและได้รับบาดเจ็บที่รุนแรงได้ เพราะฉะนั้นแล้วหนึ่งในฟังก์ชั่นสำคัญที่เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าทุกเตียงจำเป็นจะต้องมี คือ ฟังก์ชั่นเกี่ยวกับการปรับระดับความสูงของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ที่จำเป็นจะต้องสามารถทำการปรับระดับความสูงของเตียงผู้ป่วยขึ้น-ลงได้หลายระดับ โดยควรมีระดับความสูงต่ำสุดอยู่ที่ประมาณ 25-40 เซนติเมตร หรือประมาณข้อพับของผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถวางเท้าแนบกับพื้นได้อย่างพอดี

    และสามารถลุกขึ้นยืนได้โดยไม่เกิดการเซล้ม
    นอกจากนี้ เตียงผู้ป่วยไฟฟ้ายังควรที่จะต้องสามารถทำการปรับระดับความสูงให้สูงขึ้นจนพอดีกับระดับเอวหรือสะโพกของผู้ดูแลได้ เพื่อเป็นการช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ดูแลไม่ต้องคอยก้ม ๆ เงย ๆ จนเสี่ยงต่อการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เมื่อต้องทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้กับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็น การทำกายภาพบำบัด การทำหัตถการต่าง ๆ รวมไปถึงการอาบน้ำ สระผม การทำความสะอาดและเปลี่ยนชุดผ้าปูที่นอน เป็นต้น อีกทั้งการปรับระดับเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าให้สูงขึ้นยังเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยและผู้สูงอายุได้ปรับเปลี่ยนอิริยาบถจากการนอนมาเป็นการนั่งห้อยขา เพื่อช่วยกระตุ้นให้ระบบไหลเวียนโลหิตสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  2. ฟังก์ชั่นการปรับระดับราวกันตกของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า
             
    ราวกันตก หรือราวกั้นเตียง เป็นอุปกรณ์นิรภัยที่ไม่ได้มีหน้าที่สำคัญเพียงแค่การช่วยเสริมความปลอดภัยเพื่อป้องกันการพลัดตกเตียงในระหว่างการนอนหลับให้กับผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่กำลังใช้งานเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ราวกันตกยังมีหน้าที่สำคัญในการช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยและผู้สูงอายุสามารถใช้ยึดจับเพื่อพยุงตัวลุกขึ้นนั่ง พลิกตัว หมุนตัว หรือล้มตัวนอนได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นแล้วฟังก์ชั่นการปรับระดับราวการตกจึงนับได้ว่าเป็นหนึ่งในฟังก์ชั่นพื้นฐานที่ควรมีในเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าทุกเตียง เพื่อเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยและผู้สูงอายุสามารถทำการควบคุมการทำงานของราวกันตกเพื่อให้สามารถช่วยเหลือตัวเองในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาผู้ดูแล รวมไปถึงเพื่อเป็นการช่วยทุ่นแรงของผู้ดูแลในการยกราวกันตกขึ้น-ลงเมื่อต้องการเข้าถึงตัวผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุอีกด้วย

  3. ฟังก์ชั่นการปรับระดับพนักพิงหลังและการปรับงอเข่าของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า
             
    ฟังก์ชั่นการปรับระดับพนักพิงหลังและการปรับงอเข่าของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า เป็นอีกหนึ่งฟังก์ชั่นสำคัญที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ทั้งผู้ป่วย ผู้สูงอายุ และผู้ดูแล สามารถใช้งานเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยพักฟื้นหรือผู้สูงอายุที่ยังสามารถทำการขยับเคลื่อนไหวร่างกายได้ตามปกติ ฟังก์ชั่นการปรับระดับพนักพิงหลังและการปรับงอเข่าของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าจะช่วยทำให้ผู้ป่วยและผู้สูงอายุสามารถทำการปรับระดับความลาดชันของเตียงผู้ป่วยให้คล้ายกับท่านั่ง (Cardiac Chair Position) เพื่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การอ่านหนังสือ หรือการดูโทรทัศน์ได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

    อีกทั้งการที่ผู้ป่วยได้ปรับเปลี่ยนอิริยาบถให้มาอยู่ในท่านั่งยังเป็นการช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตและช่วยให้ปอดขยายตัวได้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงยังสามารถช่วยบรรเทาอาการกรดไหลย้อน และลดความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับได้อีกด้วย และสำหรับการช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ดูแลนั้น เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่มีฟังก์ชั่นการปรับระดับพนักพิงหลังและการปรับงอเข่าจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ดูแลสามารถช่วยป้อนอาหาร ทำหัตถการ นวดผ่อนคลาย รวมถึงช่วยเช็ดตัว สระผม และแปรงฟันให้กับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการช่วยฟื้นฟูร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยให้ดีมากขึ้นตามไปด้วย

  4. ฟังก์ชั่นการปรับยกระดับเตียงของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า
             
    ฟังก์ชั่นการปรับยกระดับเตียงของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า เป็นอีกหนึ่งฟังก์ชั่นสำคัญที่ควรมีในเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าทุกเตียงเพื่อช่วยในการจัดท่าทางให้ผู้ป่วยสามารถนอนหงายราบศีรษะสูง (Reverse Trendelenburg Position) หรือนอนหงายราบศีรษะต่ำ (Supine Trendelenburg Position) เพื่อผลประโยชน์ในการช่วยรักษาพยาบาลและการช่วยฟื้นฟูร่างกายของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการปรับยกระดับเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าให้อยู่ในท่านอนหงายราบศีรษะสูง (Reverse Trendelenburg Position) จะสามารถช่วยระบายหนองหรือสารคัดหลั่งต่าง ๆ ออกจากแผลผ่าตัดที่บริเวณหน้าท้อง เพื่อการช่วยลดการอักเสบที่บริเวณช่องท้อง และยังสามารถช่วยควบคุมระดับความดันเลือดให้ต่ำลงได้อีกด้วย

    ในขณะที่การปรับยกระดับเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าให้อยู่ในท่านอนราบศีรษะต่ำ (Supine Trendelenburg Position) จะสามารถช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนของโลหิตเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจและสมองได้มากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยที่เสียเลือดมากเกิดภาวะช็อกจนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต และนอกจากนี้การปรับยกระดับเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าให้อยู่ในท่านอนราบศีรษะต่ำยังช่วยให้ผู้ดูแลสามารถทำหัตถการต่าง ๆ ทางนรีเวชและทางเดินปัสสาวะ ยกตัวอย่างเช่น การสวนล้างช่องคลอด ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

  5. ฟังก์ชั่น CPR ของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า
             โดยปกติแล้วฟังก์ชั่นการควบคุมเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นฟังก์ชั่นการปรับระดับความสูง-ต่ำของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ฟังก์ชั่นการปรับระดับราวกันตก หรือฟังก์ชั่นการปรับระดับพนักพิงหลังและการปรับงอเข่า จะมีสวิตช์ควบคุมการทำงานที่แยกออกจากกันอย่างชัดเจน ส่งผลให้เมื่อผู้ป่วยที่กำลังนอนอยู่บนเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าต้องการที่จะขยับลุกขึ้นยืนเพื่อเดินไปเข้าห้องน้ำหรือออกไปสูดอากาศ ผู้ป่วยและผู้ดูแลจึงจำเป็นที่จะต้องทำการกดปุ่มสั่งการบนเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าอย่างน้อย 3 ปุ่ม ได้แก่ ปุ่มปรับระดับความสูงของเตียง ปุ่มปรับระดับความลาดชันของพนักพิง และปุ่มปรับระดับของราวกันตก ซึ่งแน่นอนว่าในสถานการณ์ปกติ การที่จะต้องกดปุ่มสั่งการหลาย ๆ ปุ่มนั้นอาจไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยหรือผู้ดูแลมากมาย

    แต่ในสถานการณ์ฉุกเฉินที่ผู้ป่วยหยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นแบบกะทันหัน และต้องการได้รับการช่วยเหลือเพื่อทำการกู้ชีพในทันที ช่วงเวลาที่ต้องสูญเสียไปกับการกดปุ่มสั่งการเพื่อปรับระดับเตียงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสำหรับการทำ CPR นั้นถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สามารถตัดสินความเป็นความตายของผู้ป่วยได้ เพราะฉะนั้นแล้วการมีฟังก์ชั่น CPR ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นที่สามารถควบคุมและปรับระดับเตียงผู้ป่วยให้อยู่ในแนวราบ และมีความสูงที่เหมาะสมสำหรับการทำ CPR ได้แบบครบจบในปุ่มเดียว จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรมีอยู่ในทุกเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถได้รับการดูแลและการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที และมีโอกาสในการรอดชีวิตที่มากขึ้น

 

         สำหรับผู้ที่กำลังมองหาและต้องการเลือกซื้ออุปกรณ์การแพทย์อย่างเตียงผู้สูงอายุ เตียงผู้ป่วยแบบธรรมดา หรือเตียงผู้ป่วยไฟฟ้ามาใช้งาน แอ็ดเลอร์ เมดิคอล ซัพพลาย เราคือผู้ให้บริการจัดจำหน่ายสินค้าเพื่อการแพทย์แบบครบวงจร พร้อมมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับเตียงผู้ป่วยแบบธรรมดา และเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า หลากหลายรุ่น ที่พร้อมจะให้คำแนะนำและคำปรึกษาลูกค้าทุกท่านในการเลือกซื้ออุปกรณ์การแพทย์และเตียงผู้ป่วยให้ตรงตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน และความต้องการของผู้ป่วยที่แตกต่างกันมากที่สุด

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
Customer services : 096-924-6604
Facebook : @AdlerMedicalSupply
Line@ : https://page.line.me/adlermed
Website : https://www.adlerthailand.com

04 กรกฎาคม 2565

ผู้ชม 579 ครั้ง

Engine by shopup.com