shopup.com

ดูบทความเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า VS เตียงผู้ป่วยแบบธรรมดา เลือกแบบไหนดีกว่ากัน?

เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า VS เตียงผู้ป่วยแบบธรรมดา เลือกแบบไหนดีกว่ากัน?

เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า VS เตียงผู้ป่วยแบบธรรมดา เลือกแบบไหนดีกว่ากัน?

แนวทางการเลือกซื้อเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า

 

         การเลือกซื้อเตียงผู้ป่วยแบบธรรมดา หรือเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าให้กับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ต้องประสบกับความเจ็บป่วยที่บั่นทอนทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจให้ทรุดโทรมลงจนทำให้ไม่สามารถดูแลตนเองได้ รวมถึงไม่สามารถเดิน ลุก นั่ง หรือลงมือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวกเหมือนอย่างที่เคยทำอีกต่อไป นับเป็นหนึ่งในความจำเป็นสำหรับการพักฟื้นผู้ป่วยที่บ้านที่ไม่เพียงแต่จะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ดูแล และช่วยให้การดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุมีความง่ายและสะดวกสบายมากขึ้นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่การเลือกใช้งานเตียงผู้ป่วยแบบธรรมดา หรือเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุทุกคนที่มีข้อจำกัดทางด้านร่างกายที่แตกต่างกันสามารถช่วยเหลือตนเองและลงมือทำกิจกรรมต่าง ๆ บนเตียงผู้ป่วยแบบธรรมดา หรือเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ได้อย่างสะดวกได้มากยิ่งขึ้น สำหรับใครที่กำลังลังเลอยู่ว่า ควรเลือกซื้อเตียงผู้ป่วยแบบไหนระหว่างเตียงผู้ป่วยแบบธรรมดา หรือเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ถึงจะสามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้กับทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลได้ดีกว่ากัน มาลองดูข้อเปรียบเทียบการใช้งานระหว่างเตียงผู้ป่วยแบบธรรมดาและเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ที่เราหยิบยกขึ้นมานำเสนอในวันนี้ประกอบการตัดสินใจได้เลย

 

เปรียบเทียบแบบชัด ๆ เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า VS เตียงผู้ป่วยแบบธรรมดา เลือกแบบไหนดีกว่ากัน

 

  1. ระบบการทำงานของเตียงผู้ป่วย 

    • เตียงผู้ป่วยแบบธรรมดา เตียงผู้ป่วยแบบธรรมดา (Manual Hospital Bed) เป็นเตียงผู้ป่วยที่มีระบบการทำงานแบบมือหมุน ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุไม่สามารถปรับหรือควบคุมการทำงานของเตียงผู้ป่วยแบบธรรมดาได้ด้วยตัวเอง แต่จะต้องอาศัยแรงของผู้ดูแลในการช่วยให้ฟังก์ชันพิเศษต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเตียงผู้ป่วย อาทิเช่น ฟังก์ชันการปรับระดับความสูง-ต่ำของเตียงผู้ป่วย ฟังก์ชันการปรับเบาะพนักพิง รวมไปถึงฟังก์ชันการปรับระดับความลาดเอียงของช่วงศีรษะและเท้า เป็นต้น สามารถทำงานเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ บนเตียงผู้ป่วยได้อย่างคล่องตัวมากยิ่งขึ้น

    • เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า (Electric Hospital Bed) เป็นเตียงผู้ป่วยที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตัวเองได้สะดวกมากขึ้น ด้วยระบบการควบคุมเตียงผู้ป่วยแบบมอเตอร์ไฟฟ้าที่จะช่วยให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุสามารถทำการปรับระดับหรือควบคุมการทำงานของเตียงผู้ป่วยได้ด้วยตัวเองโดยอาศัยการใช้งานรีโมทและปุ่มควบคุมที่ถูกติดตั้งเอาไว้ที่บริเวณราวปีกนกด้านข้างเตียง โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องพึ่งพาผู้ดูแลในทุก ๆ ครั้ง เพื่อเป็นการช่วยลดภาระของผู้ดูแลและช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองมากขึ้น


  2. การตอบสนองต่อความเจ็บป่วยของผู้ป่วย

    • เตียงผู้ป่วยแบบธรรมดา ด้วยรูปแบบการทำงานของเตียงผู้ป่วยแบบธรรมดาที่มีระบบการทำงานแบบมือหมุน ส่งผลให้การใช้งานเตียงผู้ป่วยแบบธรรมดาจึงจำเป็นที่จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ดูแลอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถทำการควบคุมหรือปรับระดับเตียงผู้ป่วยได้เอง เพราะฉะนั้นแล้วเตียงผู้ป่วยแบบธรรมดาจึงเหมาะสำหรับการนำมาใช้งานร่วมกับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ยังสามารถขยับลุกขึ้นนั่ง เดิน และช่วยเหลือตัวเองได้ ซึ่งผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุในกลุ่มนี้จะถือเป็นกลุ่มที่ไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ชีวิตหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ อยู่บนเตียงผู้ป่วยตลอดทั้งวัน หรือต้องการพึ่งพาการใช้งานฟังก์ชันต่าง ๆ ของเตียงผู้ป่วยแบบธรรมดาบ่อยมากนัก

    • เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าเป็นเตียงผู้ป่วยที่เหมาะสำหรับการนำมาใช้งานร่วมกับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุทุกประเภทตั้งแต่ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เพื่อเป็นการช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยและผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น ตลอดจนการนำเตียงผู้ป่วยไฟฟ้ามาใช้งานร่วมกับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยและมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ชีวิตอยู่บนเตียงผู้ป่วยมากกว่า 15 ชั่วโมงต่อวัน และผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่มีภาวะติดเตียงซึ่งไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และมีความจำเป็นที่จะต้องทำกิจกรรมทุกอย่างบนเตียงผู้ป่วย เนื่องจากเตียงผู้ป่วยไฟฟ้ามีระบบการหมุนปรับระดับความสูง รวมถึงระบบสั่งการการทำงานของฟังก์ชันต่าง ๆ ของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ ซึ่งสามารถช่วยลดภาระของผู้ดูแลในการหมุนปรับระดับเตียงเพื่อการเคลื่อนย้ายร่างกายของผู้ป่วยในระหว่างการรับประทานอาหาร อาบน้ำ ขับถ่าย และการพลิกตัวของผู้ป่วยเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับได้อย่างมีประสิทธิภาพ


  3. การช่วยฟื้นฟูร่างกายของผู้ป่วย และการช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ดูแล

    • เตียงผู้ป่วยแบบธรรมดา หนึ่งในข้อจำกัดที่สำคัญของการใช้งานเตียงผู้ป่วยแบบธรรมดาที่มีการติดตั้งมือหมุนไกร์เตียงเอาไว้ที่บริเวณปลายเตียง คือข้อจำกัดในเรื่องของการปรับระดับหรือควบคุมการทำงานของเตียงผู้ป่วยแบบธรรมดาซึ่งผู้ป่วยไม่สามารถทำการควบคุมได้ด้วยตัวเองและต้องพึ่งพาผู้ดูแลในการช่วยปรับระดับเตียงผู้ป่วยแบบธรรมดาให้อยู่เสมอ ซึ่งข้อจำกัดเหล่านี้ถือเป็นสาเหตุสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกด้อยค่าในตัวเองมากยิ่งขึ้นจากการที่ไม่สามารถทำการควบคุมหรือช่วยเหลือตัวเองได้ดังใจ จนทำให้เกิดความเครียดสะสมที่อาจนำไปสู่การเกิดความผิดปกติทางอารมณ์และการเกิดภาวะซึมเศร้าได้ในอนาคตหากไม่รับการรักษาและเยียวยาอย่างทันท่วงที

    • เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า การใช้งานเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุสามารถควบคุมการใช้งานผ่านรีโมทหรือปุ่มกดที่บริเวณราวปีกนกด้านข้างเตียงได้ด้วยตัวเอง จะช่วยทำให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ สามารถทำการควบคุมและปรับระดับเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าเพื่อการขยับตัวลุกขึ้นนั่ง เดิน หรือช่วยเหลือตัวเองในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นที่จะต้องร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ดูแลอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการใช้งานเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่ช่วยสนับสนุนให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้นนี้เองก็นับได้ว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจ และช่วยเพิ่มความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองให้กับผู้ป่วยและผู้สูงอายุได้มากยิ่งขึ้น


  4. ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และความทนทานในการใช้งาน

    • เตียงผู้ป่วยแบบธรรมดา เตียงผู้ป่วยแบบธรรมดาเป็นเตียงผู้ป่วยที่สามารถทำงานได้โดยการอาศัยระบบเพลามือหมุนเป็นตัวช่วยในการขับเคลื่อนให้ฟังก์ชันต่าง ๆ ของเตียงผู้ป่วยแบบธรรมดาทั้งการปรับระดับความสูงของเตียงและการปรับระดับความลาดเอียงของช่วงศีรษะและปลายเท้า สามารถทำงานเพื่อตอบสนองต่อความต้องการในการใช้งานของผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุได้โดนไม่ต้องใช้ไฟฟ้าจึงมีความปลอดภัยสูง การปรับฟังก์ชันท่าต่างๆส่วนมากจะให้ผู้ดูแลเป็นผู้ช่วยปรับ เนื่องจากผู้ป่วยอาจไม่สะดวกลุกจากเตียงมาหมุนปรับบริเวณปลายเตียง และด้วยระบบการทำงานที่เป็นแบบเพลามือหมุนนี้เองจะช่วยทำให้เตียงผู้ป่วยแบบธรรมดาบางรุ่นมีน้ำหนักเบากว่าเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า

    • เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าเป็นเตียงผู้ป่วยที่มักจะถูกผลิตขึ้นมาจากเหล็กกล้าและพลาสติก ABS คุณภาพสูงเพื่อให้สามารถรองรับกับการติดตั้งระบบมอเตอร์ไฟฟ้าและปุ่มควบคุมการใช้งานต่าง ๆ ที่บริเวณราวปีกนกได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าจึงเป็นเตียงผู้ป่วยที่มีความแข็งแรง ทนทาน และสามารถใช้งานได้อย่างยาวนานมากกว่าเตียงผู้ป่วยแบบธรรมดา และนอกจากนี้เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าส่วนใหญ่ยังสามารถรองรับน้ำหนักของผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุได้สูงสุดถึง 250 กิโลกรัม จึงทำให้เตียงผู้ป่วยไฟฟ้ามีความปลอดภัยในการนำมาใช้งานร่วมกับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักตัวค่อนข้างมากและผู้ป่วยที่มีความจำเป็นจะต้องทำกิจกรรมต่าง ๆ บนเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี

 

สำหรับผู้ที่กำลังมองหาและต้องการเลือกซื้ออุปกรณ์การแพทย์อย่างเตียงผู้สูงอายุ เตียงผู้ป่วยแบบธรรมดา หรือเตียงผู้ป่วยไฟฟ้ามาใช้งาน แอ็ดเลอร์ เมดิคอล ซัพพลาย เราคือผู้ให้บริการจัดจำหน่ายสินค้าเพื่อการแพทย์แบบครบวงจร พร้อมมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับเตียงผู้ป่วยแบบธรรมดา และเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า หลากหลายรุ่น ที่พร้อมจะให้คำแนะนำและคำปรึกษาลูกค้าทุกท่านในการเลือกซื้ออุปกรณ์การแพทย์และเตียงผู้ป่วยให้ตรงตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน และความต้องการของผู้ป่วยที่แตกต่างกันมากที่สุด

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
Customer services : 096-924-6604
Facebook : @AdlerMedicalSupply
Line@ : https://page.line.me/adlermed
Website : https://www.adlerthailand.com

04 กรกฎาคม 2565

ผู้ชม 705 ครั้ง

Engine by shopup.com