25 กันยายน 2567
ผู้ชม 3916 ผู้ชม
ใบอนุญาตโฆษณาเครื่องมือการแพทย์ ฆพ.1951/2565
ใบรับแจ้งรายการละเอียดที่ 65-2-2-2-0000758
เครื่องเพิ่มความเข้มข้นของออกซิเจน ขนาด 3 ลิตร รุ่น 7F-3DW
คุณสมบัติหลัก
- ขนาด ( กว้าง x ยาว x สูง ) 28.5 x 47 x 55.6 เซนติเมตร
- น้ำหนัก 24 กิโลกรัม
- อัตราการไหลของออกซิเจน 0-3 ลิตร/นาที
- ความเข้มข้นออกซิเจน 93% ± 3%
- ความดันออกสูงสุด ≤ 50 kPa (7.25 psi)
- ระดับเสียงการทำงานเฉลี่ยของเครื่อง ≤ 55 เดซิเบล
- กำลังไฟ 320 วัตต์
- ใช้กับไฟกระแสสลับ AC220V±10%, 50/60 Hz
- ตัวเครื่องมาพร้อมกับฟังก์ชั่นพ่นยา หรือวาล์วช่องพ่นยาแยกออกจากช่องจ่ายออกซิเจน ซึ่งสามารถต่อชุดพ่นละอองยาได้โดยให้อัตราการพ่นละอองยาออกมาไม่ต่ำกว่า 0.15 มิลลิลิตร/นาที
- มีระบบตั้งเวลาปิดอัตโนมัติได้สูงสุด 99 นาที เพื่อสะดวกต่อการใช้งาน
- หน้าจอ LCD แสดงเวลาเพื่อนับ และตั้งค่าเวลาในการปิดเครื่องอัตโนมัติ
- แผงควบคุมที่ตัวเครือง มี 3 ปุ่ม คือ
- O / I คือ ปุ่ม ปิด / เปิด เครื่อง
- Timing setting + / - คือ การเพิ่ม และลดเวลาในการปิดเครื่องอัตโนมัติ
- ปุ่ม สำหรับหมุนปรับอัตราการไหล (ลิตร / นาที)
- ติดตั้งล้อ 4 ล้อ พร้อมระบบล็อกล้อในแต่ละล้อ ทั้ง 4 ล้อ เพื่อสะดวกต่อการใช้งาน และเคลื่อนย้าย
- มีไส้กรอก 2 ชั้น คือ
- ไส้กรองแบบหยาบ เป็นลักษณะฟองน้ำเพื่อกรองฝุ่นในอากาศที่จะเข้าเครื่องสามารถถอดล้างทำความสะอาดได้
- ภายในตัวเครื่อง เป็นลักษณะไส้กรองผ้าแบบละเอียด เพื่อกรองอากาศที่จะเข้าเครื่อง
- ออกแบบให้มีชั้นสำหรับเก็บกระปุกน้ำให้ความชื้นโดยเฉพาะ พร้อมประตูพลาสติกใส ปิด-เปิดได้ สะดวกปลอดภัย
- สามารถใช้งานได้ที่ระดับความสูงถึง 1,828 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล โดยไม่ทำให้ระดับความเข้มข้นลดลง ส่วนที่ระดับความสูง 1,828-4,000 เมตร จะให้ประสิทธิภาพ ความเข้มข้นออกซิเจนต่ำกว่า 90%
อุปกรณ์ประกอบในชุด
คู่มือการใช้งาน | 1 ชุด |
สาย Oxygen Cannula | 2 เส้น |
ชุดพ่นละอองยา | 1 ชุด |
ชุดไส้กรองอากาศ | 1 ชุด |
กระปุกให้ความชื้น | 1 ชุด |
รายการของแถมพร้อมใช้งาน
แถมฟรี เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว หรือ เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟาเรด หรือ เครื่องวัดความดัน หรือ เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด |
1 เครื่อง |
แถมฟรี สาย Oxygen Cannula | 5 ชุด |
แถมฟรี น้ำกลั่นทางการแพทย์ 500 ml. |
2 ขวด |
แถมฟรี ชุดพ่นละอองยา |
1 ชุด |
การรับประกันสินค้า
- รับประกัน 3 ปี
- มีศูนย์ให้บริการในประเทศไทย มีเครื่องสำรองให้ใช้ระหว่างรอซ่อมตลอดอายุการใช้งาน
- บริการถึงสถานที่ (Onsite Service) เฉพาะในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล
บริการพิเศษ
- ฟรี เครื่องสำรองระหว่างซ่อม
- ฟรี บริการจัดส่งฟรีทั่วประเทศ บริการจัดส่งพร้อมติดตั้งฟรีพร้อมเจ้าหน้าที่แนะนำการใช้งานในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล
- พิเศษ รองรับการชำระเงินปลายทาง โอนเงินหรือชำระบัตรเครดิตไม่ชาร์จเพิ่ม
คำเตือน
1. อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้
2. ผู้ที่จะใช้เครื่องได้ต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
3. ออกซิเจนที่ได้จากเครื่องจะทำให้มีปริมาณออกซิเจนเข้มข้นเพิ่มได้ แต่ไม่ได้เป็นอุปกรณ์ในการช่วยชีวิต
4. ในกรณีผู้ที่ต้องการบำบัดโดยการให้ออกซิเจนอาจมีอันตรายได้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้มีความเชี่ยวชาญในการใช้ก่อนใช้
5. เนื่องจากออกซิเจนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเผาไหม้ ดังนั้นควรเก็บให้ห่างจากความร้อนหรือเปลวไฟ
6. ไม่เหมาะสำหรับนำไปใช้ผสมก๊าซไนตรัสออกไซด์เพื่อใช้ในการดมยาสลบ
7. ห้ามสูบบุหรี่หรือผู้อื่นที่สูบบุหรี่อยู่ในบริเวณใกล้เครื่องในขณะที่มีการเปิดใช้งาน
หลักการทำงานเครื่องผลิตออกซิเจน และวิธีการเลือกเครื่องผลิตออกซิเจน ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์และการใช้งาน
หลักการทำงานของเครื่องผลิตออกซิเจน
สำหรับอากาศทั่วไปประกอบด้วยไนโตรเจน 78 เปอร์เซ็นต์ และออกซิเจน 21 เปอร์เซ็นต์ อีกเพียง 1 เปอร์เซ็นต์จะเป็นแก๊สชนิดอื่นๆ เครื่องผลิตออกซิเจน จะเปลี่ยนอากาศโดยรอบโดยอาศัยหลักการ pressure swing adsorption หรือ PSA โดยเทคนิคนี้ จะใช้สารดูดซับประเภทซีโอไลท์ (zeolite) เพื่อทำการดูดซับไนโตรเจนออกจากอากาศที่ความดันสูง โดยไนโตรเจนจะยึดติดกับผิวของสารซีโอไลท์ เนื่องจากซีโอไลท์มีพื้นผิวสัมผัสมากจึงสามารถจับกับแก๊สไนโตรเจนที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก สารจะดูดซับก๊าซไว้ได้เป็นจำนวนมาก เมื่อความดันต่ำลงไนโตรเจนก็จะถูกปล่อยทิ้ง ส่วนออกซิเจนก็จะถูกปล่อยออกมาเพื่อใช้งานที่มีความบริสุทธิ์ประมาณ 96% เหมือนเป็นการกรองแก๊สไนโตรเจนออกจากแก๊สออกซิเจนนั่นเอง
เครื่องผลิตออกซิเจน แบ่งได้ เป็น 2 ชนิด ตามการใช้งาน
1.ชนิด Continuous Flow Oxygen Concentrators
จะปล่อยออกซิเจนออกมาได้ต่อเนื่อง ใช้เพื่อรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ในโรงพยาบาล และสถานพยาบาล แม้แต่ใช้พักฟื้นที่บ้าน มีขนาดสเปคตั้งแต่ 3 ลิตร ขนาด 5 ลิตร ไปจนถึงขนาด 10 ลิตร ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการนำไปใช้งาน
2.ชนิด Pulse Dose Portable Concentrators
เครื่องผลิตออกซิเจนแบบ Pulse Dose สามารถผลิตออกซิเจนให้ได้ในระยะสั้นๆตามการหายใจเข้า ส่งผลให้ไม่มีการสูญเสียออกซิเจนให้สูญเปล่า สามารถช่วยในเรื่องการประหยัดพลังงาน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการออกซิเจนไม่มากนัก และสำหรับต้องการออกซิเจนแบบพกพาเพื่อทำกิจกรรมนอกบ้าน เครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพา
การจับจังหวะการหายใจไม่ว่าผู้ใช้จะหายใจช้าหรือเร็วเครื่องก็สามารถจับจังหวะการหายใจและปล่อยออกซิเจนได้อย่างเหมาะสมในแต่ละบุคคล ระบบแบบ pulse dose ส่วนใหญ่สามารถปรับได้ประมาณ 1 - 5 ระดับ โดยที่ค่าความเข้มข้นของออกซิเจนจะไม่ลดลง ซึ่งจะมีความบริสุทธิ์อยู่ที่ 93+- 3% ในทุกระดับ
ทราบได้อย่างไรว่าควรเลือกซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนขนาดกี่ลิตร
แพทย์จะกำหนดให้ผู้ป่วยทราบว่าผู้ป่วยจะต้องการออกซิเจนเท่าใด (ลิตรต่อนาที) ก่อนซื้อต้องมั่นใจว่าเครื่องผลิตออกซิเจนสามารถให้ออกซิเจนในปริมาณที่เพียงพอสำหรับความต้องการของผู้ใช้งานหรือไม่
การให้ออกซิเจนบำบัดที่บ้าน (Oxygen Therapy)
การพิจารณาให้ออกซิเจนที่บ้านจะใช้เกณฑ์ที่แตกต่างจากกรณีที่อยู่ในโรงพยาบาล คือเป็นการให้ออกซิเจนในภาวะปกติของผู้ป่วยรายนั้นนั่น
1.กรณีที่ต้องการให้ออกซิเจนต่อเนื่อง
- วัดความอิ่มตัวของออกซิเจนจากปลายนิ้ว (SpO2) ได้น้อยกว่า 88 %
- วัด SpO2 ได้ 88-90% แต่มีภาวะหรือโรคที่บ่งบอกถึงภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรังขึ้นแล้ว จากการประเมินของแพทย์
2.กรณีที่ต้องให้ออกซิเจนเฉพาะบางโอกาส
- ให้ออกซิเจนขณะออกกำลังกาย หรือหลังออกกำลังกาย SpO2 น้อยกว่า 88%
- ให้เฉพาะขณะนอนหลับ ถ้าขณะหลับ SpO2 ต่ำกว่า 88 %
ทั้งสองภาวะเบื้องต้นนี้สามารถประเมินโดยการตรวจจับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด ซึ่งอาจจะได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ผู้ดูแลก่อนจะดีที่สุด
อุปกรณ์สำหรับให้ออกซิเจน
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่ต้องได้ออกซิเจนที่บ้าน มักใช้เพียงอุปกรณ์ชนิด nasal cannula หรือสายออกซิเจนแบบผ่านจมูก เพราะภาวะพร่องออกซิเจนมักจะต่ำและไม่รุนแรงมากนัก อย่างไรก็ตามก็มีผู้ป่วยโรคปอด หรือโรคหัวใจบางรายที่มีภาวะขาดออกซิเจนที่รุนแรงแต่เรื้อรังมากๆ จำเป็นต้องรักษาตัวที่บ้าน จึงต้องมีการใช้อุปกรณ์สำหรับให้ออกซิเจนในรูปแบบอื่นๆ ด้วยดังนี้
1. nasal cannula หรือสายออกซิเจนแบบผ่านจมูก
ใช้สำหรับอัตราการไหลของออกซิเจน 1-6 ลิตร/นาที สายเล็กๆ ที่นำออกซิเจนควรอยู่ลึกในจมูกประมาณ 1 ซม. ข้อดีคือผู้ป่วยจะรู้สึกสบายกว่าอุปกรณ์แบบอื่นและมีราคาถูก
ความเข้มข้นของออกซิเจนที่ผู้ป่วยได้รับ (FiO2)
1 L/min = 24 %
2 L/min = 28 %
3 L/min = 32 %
4 L/min = 36 %
5 L/min = 40 %
6 L/min = 44 %
ข้อจำกัด
ความเข้มข้นของออกซิเจนที่ผู้ป่วยได้รับแปรผันตามการหายใจ ถ้าหายใจเร็ว หอบอยู่ สัดส่วนของอากาศปกติก็จะมาก ทำให้ความเข้มข้นลดลง และถ้าเปิดออกซิเจนแรง จะทำให้ระคายเคืองเยื่อบุจมูก
2. Simple Oxygen Mask หรือหน้ากากออกซิเจน
ใช้สำหรับอัตราการไหลของออกซิเจน 5-8 ลิตร/นาที การใช้ต้องครอบให้แนบสนิทกับหน้า
ความเข้มข้นของออกซิเจนที่ผู้ป่วยได้รับ (FiO2)
5-8 L/min = 50-60%
ข้อจำกัด
ห้ามเปิดออกซิเจน น้อยกว่า 5 L/min เพราะจะทำให้ลมหายใจเดิมค้างในหน้ากาก ผู้ป่วยจะหายใจเอาอากาศเดิมเข้าไปใหม่ได้ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจะรู้สึกอึดอัด ไม่สบาย
3. High Concentration Oxygen Re breathing Mask with Bag หรือหน้ากากออกซิเจนมีถุง
ใช้สำหรับอัตราการไหลของออกซิเจน 6-10 ลิตร/นาที การใช้ต้องครอบให้แนบสนิทกับหน้า สังเกตว่าถุงมีการยุบพอง ตามจังหวะการหายใจของคนไข้
ความเข้มข้นของออกซิเจนที่ผู้ป่วยได้รับ (FiO2)
6-10 L/min = 55-70 %
ข้อจำกัด
ห้ามเปิดออกซิเจน น้อยกว่า 6 L/min อื่นๆ เช่นเดียวกับ simple mask
ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ
ออกซิเจนในเลือดต่ำ หมายถึง แรงดันของออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ หรือวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดได้น้อยกว่าปกตินั่นเอง เครื่องที่ใช้ตรวจวัดสะดวกแพร่หลายจะเป็น การวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน เพราะสามารถวัดได้จากภายนอก โดยใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ไม่ยุ่งยาก และซับซ้อน เราจะวัดโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า pulse oximeter (เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว) โดยปกติค่าเฉลี่ยของคนทั่วไปความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดจะอยู่ที่ 96 – 100% ของความอิ่มตัวสูงสุด
หากค่า 95 % หรือต่ำกว่า มีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ควรปรึกษาแพทย์ **หากมีโรคประจำตัวบางกลุ่ม หรือสูบบุหรี่จัดอาจส่งผลให้ความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติได้** ในกรณีออกซิเจนต่ำที่เป็นเรื้อรังแล้วร่างกายมีการปรับตัว มักจะไม่มีอาการของการขาดออกซิเจน จนกว่าออกซิเจนจะเริ่มต่ำกว่า 90% เมื่อออกซิเจนในเลือดต่ำ เริ่มแรกเลยร่างกายจะพยายามปรับสมดุลในตัวเอง เพื่อรักษาระดับออกซิเจนไม่ให้ตกก่อน โดยการหายใจที่เร็วขึ้น แรงขึ้น หัวใจก็พยายามสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ มากขึ้น โดยจะเต้นเร็วและแรงขึ้นด้วยเช่นกัน ความดันโลหิตก็จะสูงขึ้น
อ้างอิงข้อมูลจาก
- เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วใช้อย่างไร./https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2/
- นพ.สุรพันธ์ เจริญธัญรักษ์.ใส่ O2 canula ได้ FiO2 เท่าไร ?.https://www.facebook.com/kkhsepsis
- หลักการให้ออกซิเจนกับผู้ป่วย. https://www.medi2you.com/oxygen-concentrator/