27 กันยายน 2566
ผู้ชม 1181 ผู้ชม
เลขที่ใบอนุญาตโฆษณา : ฆพ.2009/2562
ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ ยี่ห้อ Devilbiss รุ่น GRAVIMED BARITEXX
คุณสมบัติทั่วไป
- ขนาด (กว้าง x ยาว x หนา) 90 x 190 x 16 เซนติเมตร
- น้ำหนัก 13 กิโลกรัม
- รองรับน้ำหนักได้ 250 กิโลกรัม
รายละเอียดคุณสมบัติ
- เป็นที่นอนฟูกทางการแพทย์สำหรับรองนอนเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับได้ ที่ออกแบบมาพิเศษโดยบริเวณปลายเท้าที่จะนุ่มเป็นพิเศษ
- รองรับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 80 - 250 กิโลกรัม
- ผลิตจาก Viscoelastic foam และ Cold foam แบ่งเป็น 3 ชั้น 2 ชนิด คือ
- Viscoelastic foam ชั้นกลางที่มีความหนืด และยืดหยุ่นสูง ทำให้ฟูกที่นอนนั้นสามารถปรับให้เข้ากับรูปร่างและน้ำหนักของร่างกาย เพื่อการระบายแรงดันที่เหมาะสมและการกระจายแรงกดทับแบบใช้อุณหภูมิต่ำ
- ชั้นผิวโฟม HR Cold foam ที่ยืดหยุ่นสูงเพื่อความสบายในการนอนที่เพิ่มขึ้น
- เนื้อโฟมทั้ง 2 ชั้น ถูกประสานกันมาอย่างดี และมีตาข่ายคลุมทั้งหมด เพื่อป้องกันจากสิ่งสกปรกและช่วยในการเปลี่ยนผ้าคลุมอีกด้วย
- ผ้าคลุมนั้นผลิตจากโพลียูรีเทน (Polyurethane – PU) และโพลีเอสเตอร์ (Polyester) คุณสมบัติป้องกันน้ำได้ดีสามารถถอดนำมาซักได้ หรือเช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อได้ สามารถทนความร้อนได้สูงสุดถึง 95 °C แต่ยังคงคุณสมบัติระบายความชื้นได้ดี
- สามารถใช้กระจายแรงกดทับโดยเฉพาะ สามารถใช้งานร่วมกับผู้ป่วยที่มีแผลกดทับในระดับที่ 3 ตามหลัก EPUAP
- ทำความสะอาดง่าย ถูกสุขอนามัยที่ดีไม่มีการแพร่กระจายของเชื้อโรค ตัวที่นอนสามารถใช้น้ำหรือน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดถูได้โดยสะดวกเพราะมีพื้นผิวที่ราบเรียบ (ผ่านมาตรฐาน RKI-Guideline แล้ว ว่าสามารถฆ่าเชื้อตามมาตรฐานด้วยวิธีการเช็ดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อได้)
- สามารถใช้ได้กับเตียงผู้ป่วยทุกรูปแบบ โดยตัวที่นอนโฟมสามารถปรับเข้ากับการจัดท่าของเตียงแบบต่างๆ
- มีฉลากที่ระบุรายละเอียดวันที่ผลิต , รหัสประจำสินค้า , โรงงานที่ผลิต และน้ำหนักสูงสุดที่สามารถรองรับได้
- มีสัญลักษณ์ เป็นฉลากรูปเท้า ในการบอกตำแหน่งด้านของที่นอน
รายละเอียดสินค้า 1 กล่อง ประกอบด้วย
- ที่นอนโฟม Gravimed BARITEXX 1 ชิ้น
- ผ้าคลุมที่นอน PU 1 ผืน
GRAVIMED BARITEXX เป็นผลิตภัณฑ์ Devilbiss สัญชาติสหรัฐอเมริกา
รับประกันสินค้าจากการใช้งานปกติ โฟม 5 ปี, ที่คลุมที่นอนชั้นนอก 1 ปี
แผลกดทับ คืออะไร
แผลกดทับเป็นแผลที่เกิดจากการกดทับลงไปเป็นเวลานาน ทำให้ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังถูกทำลายแบบเฉพาะที่ เกิดเนื้อตายและแผลขึ้นมา อาจมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย ส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณปุ่มกระดูกต่าง ๆ เช่น ส้นเท้า ก้นกบ ด้านข้างสะโพก เป็นต้น
ปัจจัยเสี่ยงแผลกดทับ
- ขาดการเคลื่อนไหว เช่น นอนติดเตียงตลอดเวลา
- เคลื่อนไหวไม่ค่อยดี
- ผอม ผิวหนังบาง ขาดน้ำ ขาดอาหาร
- โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับเส้นเลือด
- ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ทำให้เกิดความอับชื้นจากการใส่ผ้าอ้อมขณะนอนหลับ
ลักษณะแผลกดทับ
แผลกดทับสามารถระบุระยะที่เป็นได้จากระดับของเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย
- ระยะที่ 1 ผิวหนังมีรอยแดง ๆ ใช้มือกดแล้วรอยแดงไม่จางหายไป ผิวไม่ฉีกขาด
- ระยะที่ 2 ผิวหนังเสียหายบางส่วน แผลตื้น ไม่พอง ไม่เป็นตุ่มน้ำใส
- ระยะที่ 3 แผลลึกถึงชั้นถึงไขมัน สูญเสียผิวหนังทั้งหมด
- ระยะที่ 4 แผลลึกมองเห็นถึงกระดูก เอ็น กล้ามเนื้อ สูญเสียผิวหนังทั้งหมด
นอกจากนี้ยังมีแผลกดทับที่เรียกว่า Deep Tissue Injury (DTI) เป็นแผลกดทับที่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหว ผิวหนังไม่ฉีกขาด มีสีม่วงเข้มหรือสีเลือดนกปนน้ำตาล หรือพองเป็นตุ่มน้ำปนเลือด อาจเจ็บปวดร่วมด้วย ไม่สามารถระบุระยะที่เป็นได้
วิธีการรักษาแผลกดทับ
หัวใจสำคัญในการรักษาแผลกดทับ คือ การลดภาวะเสี่ยงจากการกดทับ ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดแรงกดทับที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งน้อยลง ดูแลแผล บรรเทาอาการเจ็บแผล ป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งการรักษาแบบองค์รวมจะช่วยให้สามารถดูแลได้ครบทุกด้าน วิธีการรักษาแผลกดทับ ได้แก่
- ลดแรงกดทับ โดยจัดท่านอนผู้ป่วยให้พลิกตัวทุก 2 ชั่วโมง หากนอนตะแคงควรนอนที่ 30 – 45 องศา นอนหนุนศีรษะไม่สูงเกิน 30 องศา ไม่นั่งกดทับแผล
- ดูแลแผล เนื่องจากแผลจะหายในที่ที่มีความชุ่มชื้นอยู่บ้าง ดังนั้นในการทำแผลแพทย์จะพิจารณาน้ำหลั่งจากแผล ถ้าน้ำหลั่งเยอะ จะใช้วัสดุที่ดูดซับได้ดี แต่ถ้าน้ำหลั่งน้อยมาก แพทย์จะใช้วัสดุปิดแผลที่ไม่ติดแผลมากนัก จากนั้นแพทย์จะพิจารณาพื้นแผล เนื้อตาย ขอบแผล ประเมินภาวะติดเชื้อ โดยจะเลือกวัสดุปิดแผลที่เหมาะกับประเภทของแผลเป็นสำคัญ เพื่อให้แผลหายเร็วขึ้นและลดการเสียดสีที่ผิวหนัง
- การตัดเนื้อตาย แพทย์จะทำการตัดเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายออกไป เพราะแผลกดทับจะหายได้ต้องไม่มีการติดเชื้อหรือเนื้อเยื่อตาย โดยแพทย์อาจนำส่วนของกล้ามเนื้อ ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อในร่างกายของผู้ป่วยมาปิดแผลและกระดูกในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากแผลกดทับ และแพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะและการดูแลต่าง ๆ เพิ่มเติมตามความเหมาะสม
ข้อมูลแผลกดทับอ้างอิงจาก : นพ. อรรถ นิติพน (โรงพยาบาลกรุงเทพ). แผลกดทับ อย่าปล่อยไว้ให้รุนแรง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokhospital.com/content/pressure-ulcers (วันที่สืบค้าข้อมูล: 30 มีนาคม 2565).