คุณลักษณะ
- มีข้อต่อหมุนได้ 360 องศา และ Scale แบ่งระยะเพื่อบอกความลึกของสายดูดเสมหะระบบปิด
- มี Murphy eye ป้องกันท่ออุดตัน
- มีสายอุปกรณ์สำหรับพ่นยาแบบ MDI
- พอร์ตล้างสาย Suction และ พอร์ต NSS (Normal Saline Solution)เป็นแบบ one way วาล์ว
- ปุ่มกด Suction สามารถหมุนล็อคได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติการณ์ผู้ป่วยไปกดทับ
Close suction system คืออะไร แตกต่างกับสายดูดเสมหะธรรมดายังไง ในยุค โควิด 19
Close suction คือ สายดูดเสมหะ ระบบปิด โดยตามชื่อของมันแล้วนั้นจะหมายถึงสายดูดเสมหะเพื่อช่วยจำกัดสิ่งกรีดขวางบริเวณทางเดินหายใจของผู้ป่วย เพราะการที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยการใส่ท่อช่วยหายใจทางหลอดลมแล้วนั้น ร่างกายจะสร้างเมือก หรือสารหล่อลื่นเพื่อทำหน้าที่เคลือบ, ป้องกันเยื่อบุไม่ให้ได้รับความเสียหายจากอุปกรณ์ หรือท่อหลอดลมคอของผู้ป่วยนั้นเอง แต่เมื่อทิ้งไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วสิ่งเหล่านั้นจะไปอุดตันทางเดินหายใจของผู้ป่วยแทน ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถหายใจได้ ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ หรือผู้ดูแลผู้ป่วยจะต้องทำหัตถการที่เรียกว่า การดูดเสมหะ เพื่อนำเสมหะที่ทำการขวางทางเดินหายใจออกนั้นเอง เพื่อให้สามารถหายใจได้อย่างสะดวก
ซึ่งโดยปกติแล้วนั้นผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอดลมในการช่วยหายใจ จะต้องทำการดูดเสมหะ ทางบุคลากรทางการแพทย์ หรือพยาบาลจะทำการปลดท่อช่วยหายใจและทำการดูดเสมหะ แต่ในผู้ป่วยบางรายที่ได้รับการวินิจฉัย หรือคาดว่าจะเป็นโรคพยาธิสภาพที่อาจจะติดต่อกันทางทางเดินหายใจ หรือสารคัดหลั่ง เช่น โรควัณโรค เป็นต้น ยิ่งเราที่อยู่ในยุคโควิด 19 แล้วนั้นอาจจะทำให้การดูดเสมหะที่ปกติจะมีละอองฟุ่งกระจาย และเกิดการปนเปื้อน หรือแพร่เชื้อให้กับบุคคลอื่นได้ ทำให้อุปกรณ์สายดูดเสมหะระบบปิด หรือ Close suction system catheter นี้ จำเป็นอย่างมากเนื่องจาก อุปกรณ์ชิ้นนี้ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ ซึ่งจะเชื่อมต่อกับท่อช่วยหายใจ และท่อหลอดลมของผู้ป่วยโดยไม่ต้องปลดอุปกรณ์ใดๆ ในขณะที่ทำการดูดเสมหะ เป็นการลดการปนเปื้อน และแพร่เชื้อในเวลาเดียวกัน โดยข้อต่อพิเศษที่ถูกออกแบบมาเพิ่มเติมคือ ข้อต่อทางเดียวที่ใช้ในการล้างสายดูดเสมหะ ในกรณีที่ดูดเสมหะเสร็จเรียบร้อยแล้ว (ซึ่งสายดูดเสมหะระบบปิดนี้โดยทั่วไปจะสามารถใช้งานได้ติดต่อกันเริ่มต้นที่ 24 ชั่วโมง ไปจนถึง 72 ชั่วโมง โดยขึ้นอยู่กับการออกแบบ และคำแนะนำของโรงงานผู้ผลิตนั้นเอง) , ส่วนอีกข้อต่อที่นิยมคือ ข้อต่อทางเดียวสำหรับการหยอดน้ำเกลือเพื่อละลายเสมหะในกรณีที่เสมหะมีความเหนียว หรือข้นสูง และข้อต่อพิเศษอีกอย่างคือข้อต่อที่สามารถพ่นยาได้ แบบ MDI ในกรณีที่แพทย์ต้องการให้ยาแบบพ่นเข้าสู่ทางเดินหายใจก็จะสะดวกแก่บุคลากรทางการแพทย์และเพิ่มความปลอดภัยไปด้วยนั้นเอง โดยรูปแบบนั้นจะขึ้นอยู่กลับโรงงานผู้ผลิต แต่องค์ประกอบจะคล้ายคลึงกัน และแตกต่างจากสายดูดเสมหะทั่วไป คือมีถุงคลุมทั้งสาย ปลายสายดูดเสมหะจะมีข้อต่อเชื่อมกับท่อช่วยหายใจและท่อหลอดลมคอผู้ป่วย ส่วนอีกปลายด้านหนึ่งนั้นจะเป็นปุ่มกดควบคุมการดูดแบบพลาสติก ไม่ใช้ปุ่มกดควบคุมด้วยนิ้วแล้ว (Fingertip control)เพื่อลดการสัมผัสต่างๆ นั้นเอง ซึ่งอุปกรณ์ทั้งสายจะไม่ควรจะปลดออกจากกันได้เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานนั้นเอง