ดูบทความ
ดูบทความผู้ป่วยกลับบ้านควรทำอย่างไรเมื่อต้องใช้ออกซิเจน?
ผู้ป่วยกลับบ้านควรทำอย่างไรเมื่อต้องใช้ออกซิเจน?
ผู้ป่วยกลับบ้านควรทำอย่างไรเมื่อต้องใช้ออกซิเจน?
ในการดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องได้รับออกซิเจน ส่วนใหญ่จะพบเห็นในโรงพยาบาลที่มีการลําเลียงแก๊สออกซิเจนมาตามท่อจากแหล่งจ่ายกลางหรือที่เราเรียกว่า ไพท์ไลน์ (Pipe -line) โดยทีมบุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ดูแล แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการคงที่และพร้อมที่จะกลับไปรักษาตัวที่บ้าน ทางแพทย์จะอนุญาติให้กลับได้ ถ้าหากผู้ป่วยยังอาจมีภาวะพร่องออกซิเจน แพทย์จะมีคำแนะนำโดยการใช้ออกซิเจนบำบัด เพื่อใช้ในการรักษาระดับออกซิเจนในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยลดลดการทํางานของกล้ามเนื้อหัวใจ และการทํางานของระบบทางเดินหายใจ
สิ่งที่ต้องเตรียมตัวก่อนนำผู้ป่วยกลับมารักษาตัวต่อที่บ้าน
- ทราบวิธีปฏิบัติติตัวระหว่างอยู่ที่บ้านจากทีมแพทย์ที่ให้การรักษาโดยละเอียด
- รู้วิธีการประเมินอาการผู้ป่วยในเบื้องต้นจากทีมแพทย์หรือพยาบาล ทำให้สามารถดำเนินการรักษาได้ทันท่วงทีในกรณีฉุกเฉิน
- ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องใช้ออกซิเจนบำบัด โดยเบื้องต้นควรทราบข้อมูลต่อไปนี้
-ผู้ป่วยควรได้รับออกซิเจนกี่ลิตร
ในเบื้องต้นควรสอบถามจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย
-ผู้ป่วยเจาะคอหรือไม่
- ผู้ป่วยต้องพ่นยาไหม
- เตรียมความพร้อมสภาพแวดล้อมภายในบ้านและอุปกรณ์ทางการแพทย์
เตรียมเรื่องความพร้อมที่บ้าน ประเมินว่าสิ่งแวดล้อมที่บ้านเหมาะสมกับตัวผู้ป่วยหรือไม่และอุปกรณ์ทางการแพทย์อะไรบ้างที่จำเป็นต้องใช้ เช่น เตียง , เครื่องผลิตออกซิเจน,
เครื่องดูดเสมหะ ฯลฯ
- ผู้ดูแลและวันนัดหมายกับแพทย์
ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องการผู้ดูแล ทางครอบครัวจัดเตรียมผู้ดูแลพร้อมทั้งควรตรวจสอบวันนัดหมายแพทย์ครั้งต่อไปให้ให้ถูกต้อง เพื่อที่จะมาตรวจติดตามอาการกับแพทย์ได้อย่างถูกต้อง
- เบอร์โทรติดต่อในกรณีฉุกเฉิน
ควรมีเบอร์ติดต่อในกรณีที่ฉุกเฉิน เบอร์คนในครอบครัว (กรณีมีผู้ดูแลข้างนอกมาดูแล) เบอร์ของแพทย์ หรือโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยรักษาอยู่ และที่สำคัญ 1669 คือเบอร์ติดต่อฉุกเฉินที่โทรได้ 24 ชั่วโมง
*สงวนลิขสิทธิ์ ทั้งบทความ และลิขสิทธิ์ภาพถ่ายทั้งหมด โดยผู้เขียน ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เผยแพร่ครั้งแรกใน www.adlerthailand.com กันยายน 2020
01 ตุลาคม 2563
ผู้ชม 15017 ครั้ง