ดูบทความ
ดูบทความการให้ออกซิเจน
การให้ออกซิเจน
การให้ออกซิเจน
การให้ออกซิเจนหรือการบำบัดด้วยออกซิเจน (Oxygen Therapy) เพื่อเพิ่มระดับออกซิเจนในเลือดด้วยเครื่องผลิตออกซิเจนไฟฟ้าหรือถังออกซิเจน เมื่อระดับออกซิเจนในเลือดลดลงด้วยสาเหตุต่างๆซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ
ตัวอย่างเช่น
1.ระบบการหายใจบกพร่องภาวะการเผาผลาญของร่างกายผิดปกติ 2.ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจหรือตัวนำออกซิเจนน้อยจากเสียเลือดมากหรือมีภาวะโลหิตจาง


- ในการให้ออกซิเจนจากเครื่องผลิตออกซิเจนไฟฟ้าหรือถังออกซิเจนทุกครั้งจำเป็นต้องประเมิน ว่าผู้ป่วย/คนไข้นั้นต้องการการบำบัดด้วยออกซิเจนหรือไม่ ถ้าต้องการให้ออกซิเจนควรมีคำแนะนำจากแพทย์ผู้ดูแลอาการเพื่อการเลือกอุปกรณ์ในการให้ออกซิเจนที่ถูกต้อง
ตัวอย่างอาการและข้อสังเกตอาการแสดงของผู้ที่มีภาวะออกซิเจนต่ำ
- ผู้ที่มีภาวะออกซิเจนต่ำ จะมีอาการหายใจเร็ว หายใจเข้าลึกกว่าหายใจออก ถ้าออกซิเจนต่ำมากๆจะทำให้หายใจหอบ ชีพจรเบาและเร็ว
- เมื่อมีภาวะขาดออกซิเจน ผิวหนังจะซีด หน้าซีด ริมฝีปากซีด-เขียวเล็บมือเล็บเท้าเขียวคล้ำ มีอาการเจ็บหน้าอก หาวบ่อย ปวดและมึนศีรษะร่วมกับลักษณะการหายใจ
- ผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย หงุดหงิด การตอบสนองเฉื่อยชา สับสนในการตัดสินใจ
การให้ออกซิเจนเพื่อการรักษาสามารถทำได้หลายวิธี แต่ละวิธีจะมีอุปกรณ์ที่แตกต่างกันออกไปซึ่งมีหลักปฎิบัติในการดูแลผู้ได้รับการบำบัดจากออกซิเจนซึ่งสามารถใช้ได้ร่วมกันดังนี้
- รักษาสภาพทางเดินหายใจให้โล่งตลอดเวลา
- หมั่นดูแลความสะอาดของจมูกและปากทุก 3-4 ชั่วโมง
- ตรวจดูตำแหน่งของกระปุกน้ำให้ควาชื้นและท่อนำออกซิเจนรอยต่อต่างๆให้คงที่ไม่มีการหลุด-เลื่อนหรือเคลื่อนที่ไป
- หมั่นตรวจดูความสะอาดและเปลี่ยนไส้กรองอากาศรวมทั้งแบคทีเรียฟิวเตอร์ภายในเครื่องผลิตออกซิเจนรุ่นนั้นๆ ตามระยะเวลาของเครื่องที่กำหนด
- เปลี่ยนและนำอุปกรณ์การให้ออกซิเจนไปทำความสะอาดและทำให้ปลอดเชื้อซึ่งสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อ Klorsept17 หรือ Klorkleen ที่ทางร้านแถมเพิ่มเติมไปให้
- ดูแลจิตใจผู้ป่วยและครอบครัวให้มีความมั่นใจ ไม่วิตกกังวล รับฟังความต้องการของผู้ป่วย
- ประเมินอาการผู้ป่วยเป็นระยะ ทั้งชีพจร ความรู้สึกตัว สีผิวที่เปลี่ยนไป
สงวนลิขสิทธิ์ ทั้งบทความ โดยผู้เขียน ลิขสิทธิ์ภาพถ่าย ทั้งหมด เป็นของ Adler Medical Supply และผู้เขียน ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เผยแพร่ครั้งแรกใน www.adlerthailand.com 1 กรกฎาคม 2563
Copyright (c) 2018 Text and Pictures. Use of such content either in part or in whole without permission is prohibited. First published in www.adlerthailand.com 1 July 2020

01 กรกฎาคม 2563
ผู้ชม 6402 ครั้ง