shopup.com
เครื่องผลิตออกซิเจนขนาด 9 ลิตร ยี่ห้อ INVACARE รุ่น Platinum 9 (USA) เครื่องผลิตออกซิเจนขนาด 9 ลิตร ยี่ห้อ INVACARE รุ่น Platinum 9 (USA) เครื่องผลิตออกซิเจนขนาด 9 ลิตร ยี่ห้อ INVACARE รุ่น Platinum 9 (USA) เครื่องผลิตออกซิเจนขนาด 9 ลิตร ยี่ห้อ INVACARE รุ่น Platinum 9 (USA) เครื่องผลิตออกซิเจนขนาด 9 ลิตร ยี่ห้อ INVACARE รุ่น Platinum 9 (USA) เครื่องผลิตออกซิเจนขนาด 9 ลิตร ยี่ห้อ INVACARE รุ่น Platinum 9 (USA) เครื่องผลิตออกซิเจนขนาด 9 ลิตร ยี่ห้อ INVACARE รุ่น Platinum 9 (USA)
รหัส : Platinum
เครื่องผลิตออกซิเจน ขนาด 9 ลิตร สินค้าประเทศสหรัฐอเมริกา (USA) ยี่ห้อ Invacare รุ่น Platinum 9 อายุการใช้งาน 20,000 ชม. ไส้กรองอากาศ Hepa filter ระดับเสียงการทำงานเครื่องไม่เกิน 47 dB รับประกัน 2 ปี
จาก 52,900.00 บาท ลดทันที 21000 บาท
ราคา 31,900.00 บาท

19 ธันวาคม 2566

ผู้ชม 12692 ผู้ชม

 

 

 

เลขที่ใบอนุญาตโฆษณา : ฆพ.605/2564

เครื่องผลิตออกซิเจน INVACARE 9 ลิตร รุ่น PLATINUM 9  (USA)

 

 

รายละเอียดคุณสมบัติ

  • ขนาด 365 x 467 x 670 มม.
  • น้ำหนัก 24 กิโลกรัม
  • มีร่องสำหรับสะดวกในการยก ใต้เครื่อง และมีที่หิ้วด้านบน
  • มีตัวรัดสายไฟป้องกันปลั๊กหลุดจากเครื่อง
  • มีช่องต่อรองรับระบบการเติมออกซิเจนเข้าแทงค์
  • แสดงเวลาการทำงาน 


รายละเอียดคุณสมบัติทางเทคนิค

1. อัตราการไหล 1-9 ลิตร/นาที

2. ความเข้มข้นของออกซิเจน 87-96%

3. ความดันออกสูงสุด 62 กิโลปลาสคาล

4. เสียงดัง น้อยกว่า 47 เดซิเบลเอ

5. ใช้ไฟกระแสสลับ 230 โวลต์ , 50  Hz (+10%) , กินไฟ 475 วัตต์

6. ใช้ได้ถึงความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 1,230 เมตร

7. มีระบบส่งสัญญาเตือนอัตราการไหลต่ำ

8. สัญญาณเตือน % ออกซิเจนต่ำกว่า 85% โดยไฟสีเขียว แสดงสถานะปกติ ออกซิเจน มากกว่า 85%,ไฟสีเหลืองแสดงออกซิเจน อยู่ระหว่าง 73-85% และไฟสีแดง พร้องเสียงเตือน หากออกซิเจนต่ำกว่า 73%

9. สัญญาณเตือนไฟฟ้าขัดข้อง (ระบบการเตือนไม่ต้องใช้ถ่าน)

10. ข้อต่อทางออกออกซิเจนป้องกันไฟ

11. ฟิวเตอร์ก่อนเข้าคอมเพรสเซอร์ และ ทางออกไปยังคนไข้เป็น HEPA

12. มีหน่วยความจำความผิดพลาดของเครื่อง สามารถอ่านความผิดพลาดจาก สัญญาณไฟ และดูความหมายจากตารางที่ติดไว้ ด้านในเครื่อง ช่างสามารถตรวจสอบและแก้ไข ได้ง่าย

 

อุปกรณ์ประกอบในชุด

คู่มือการใช้งาน 1 ชุด
ชุดไส้กรองอากาศ HEPA 1 ชุด
กระปุกให้ความชื้น

1 ชุด

 

รายการของแถมพร้อมใช้งาน

แถมฟรี เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว หรือ เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟาเรด หรือ เครื่องวัดความดัน หรือ เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด

1 เครื่อง
แถมฟรี สาย Oxygen Cannula 3 ชุด
แถมฟรี หน้ากากให้ออกซิเจน Mask with Bag 2 ชุด
แถมฟรี น้ำกลั่นทางการแพทย์ 500 ml.

2 ขวด

แถมฟรี ชุดดักความชื้นส่วนเกิน ป้องกันน้ำในสาย

1 ชุด


 

การรับประกันสินค้า

  • สินค้ารับประกัน 3 ปี
  • มีศูนย์ซ่อมบริการพร้อมให้คำปรึกษาวิธีการใช้งาน
  • บริการถึงสถานที่ (Onsite Service) เฉพาะในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล

 

บริการพิเศษ

  • ฟรี เครื่องสำรองระหว่างซ่อม
  • ฟรี บริการจัดส่งฟรีทั่วประเทศ บริการจัดส่งพร้อมติดตั้งฟรีพร้อมเจ้าหน้าที่แนะนำการใช้งานในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล
  • พิเศษ รองรับการชำระเงินปลายทาง โอนเงินหรือชำระบัตรเครดิตไม่ชาร์จเพิ่ม

บริการหลังการขายเครื่องผลิตออกซิเจน บริการฟรีเครื่องผลิตออกซิเจนสำรอง

บริการจัดส่งเครื่องผลิตออกซิเจนฟรีทั่วประเทศ

 

คำแนะนำและการดูแลรักษาเครื่องออกซิเจน

1.ควรตั้งเครื่องไว้ในบริเวณที่โล่งหรือที่ให้ลมผ่านสะดวก ควรวางห่างจากกำแพง อย่างน้อย 1 ฟุต ไม่ควรวางเครื่องไว้ชิดกำแพง ห้ามวางเครื่องบนโฟม ฟูก พรม และหลีกเลี่ยงการวางเครื่องในพื้นที่ที่ไม่สามารถถ่ายเทอากาศได้ดี

2.การเปิดปิดเครื่องแต่ละครั้งควรเว้นระยะเวลาให้เครื่องเซ็ตอัพอย่างน้อย 5 นาทีเครื่องจะไม่สามารถทำงานได้ ในกรณีไฟฟ้าดับหรือไม่มีไฟฟ้า

3.เครื่องจะไม่สามารถทำงานได้ ในกรณีกระแสไฟฟ้าตกเกิน 10% จากกระแสไฟที่จ่าย

4.ในกรณีที่ไม่ใช้งานควรดึงปลั๊กไฟออกทุกครั้ง

5.ในกรณีเคลื่อนย้ายเครื่องต้องวางเครื่องในแนวตั้งเท่านั้น และถอดกระป๋องนํ้าให้ความชื้น ออกจากเครื่องทุกครั้ง

6.ในกรณีเครื่องมีปัญหาขัดข้องหรือไม่สามารถใช้งานได้ กรุณาติดต่อบริษัทฯ ผู้จัดจำหน่าย

7.ควรหมั่นทำความสะอาดภายนอกเครื่องโดยใช้ผ้าชุบนํ้าหมาดๆ เช็ดให้ทั่วและใช้นํ้ายาฆ่าเชื้อ เช็ดอีกครั้งอย่างสมํ่าเสมอ

8.ควรเปลี่ยนไส้กรองในเครื่องอย่างน้อยทุกๆ 6-12 เดือน (ติดต่อบริษัทฯ ผู้จัดจำหน่าย)

 

วิธีการเลือกซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนทางการแพทย์ ซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนอย่างไร ซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนรุ่นไหนดี

หลักการทำงานเครื่องผลิตออกซิเจน และวิธีการเลือกเครื่องผลิตออกซิเจน ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์และการใช้งาน

หลักการทำงานของเครื่องผลิตออกซิเจน

     สำหรับอากาศทั่วไปประกอบด้วยไนโตรเจน 78 เปอร์เซ็นต์ และออกซิเจน 21 เปอร์เซ็นต์ อีกเพียง 1 เปอร์เซ็นต์จะเป็นแก๊สชนิดอื่นๆ เครื่องผลิตออกซิเจน จะเปลี่ยนอากาศโดยรอบโดยอาศัยหลักการ pressure swing adsorption หรือ PSA โดยเทคนิคนี้ จะใช้สารดูดซับประเภทซีโอไลท์ (zeolite) เพื่อทำการดูดซับไนโตรเจนออกจากอากาศที่ความดันสูง โดยไนโตรเจนจะยึดติดกับผิวของสารซีโอไลท์ เนื่องจากซีโอไลท์มีพื้นผิวสัมผัสมากจึงสามารถจับกับแก๊สไนโตรเจนที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก สารจะดูดซับก๊าซไว้ได้เป็นจำนวนมาก เมื่อความดันต่ำลงไนโตรเจนก็จะถูกปล่อยทิ้ง ส่วนออกซิเจนก็จะถูกปล่อยออกมาเพื่อใช้งานที่มีความบริสุทธิ์ประมาณ 96% เหมือนเป็นการกรองแก๊สไนโตรเจนออกจากแก๊สออกซิเจนนั่นเอง


เครื่องผลิตออกซิเจน แบ่งได้ เป็น 2 ชนิด ตามการใช้งาน

 

1.ชนิด Continuous Flow Oxygen Concentrators

จะปล่อยออกซิเจนออกมาได้ต่อเนื่อง ใช้เพื่อรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ในโรงพยาบาล และสถานพยาบาล แม้แต่ใช้พักฟื้นที่บ้าน มีขนาดสเปคตั้งแต่ 3 ลิตร ขนาด 5 ลิตร ไปจนถึงขนาด 10 ลิตร ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการนำไปใช้งาน

 

2.ชนิด Pulse Dose Portable Concentrators

เครื่องผลิตออกซิเจนแบบ Pulse Dose สามารถผลิตออกซิเจนให้ได้ในระยะสั้นๆตามการหายใจเข้า ส่งผลให้ไม่มีการสูญเสียออกซิเจนให้สูญเปล่า สามารถช่วยในเรื่องการประหยัดพลังงาน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการออกซิเจนไม่มากนัก และสำหรับต้องการออกซิเจนแบบพกพาเพื่อทำกิจกรรมนอกบ้าน เครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพา

การจับจังหวะการหายใจไม่ว่าผู้ใช้จะหายใจช้าหรือเร็วเครื่องก็สามารถจับจังหวะการหายใจและปล่อยออกซิเจนได้อย่างเหมาะสมในแต่ละบุคคล ระบบแบบ pulse dose ส่วนใหญ่สามารถปรับได้ประมาณ 1 - 5 ระดับ โดยที่ค่าความเข้มข้นของออกซิเจนจะไม่ลดลง ซึ่งจะมีความบริสุทธิ์อยู่ที่ 93+- 3% ในทุกระดับ

 

ทราบได้อย่างไรว่าควรเลือกซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนขนาดกี่ลิตร

แพทย์จะกำหนดให้ผู้ป่วยทราบว่าผู้ป่วยจะต้องการออกซิเจนเท่าใด (ลิตรต่อนาที) ก่อนซื้อต้องมั่นใจว่าเครื่องผลิตออกซิเจนสามารถให้ออกซิเจนในปริมาณที่เพียงพอสำหรับความต้องการของผู้ใช้งานหรือไม่

 

การให้ออกซิเจนบำบัดที่บ้าน (Oxygen Therapy)

การพิจารณาให้ออกซิเจนที่บ้านจะใช้เกณฑ์ที่แตกต่างจากกรณีที่อยู่ในโรงพยาบาล คือเป็นการให้ออกซิเจนในภาวะปกติของผู้ป่วยรายนั้นนั่น

1.กรณีที่ต้องการให้ออกซิเจนต่อเนื่อง

  • วัดความอิ่มตัวของออกซิเจนจากปลายนิ้ว (SpO2) ได้น้อยกว่า 88 %
  • วัด SpO2 ได้ 88-90% แต่มีภาวะหรือโรคที่บ่งบอกถึงภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรังขึ้นแล้ว จากการประเมินของแพทย์

2.กรณีที่ต้องให้ออกซิเจนเฉพาะบางโอกาส

  • ให้ออกซิเจนขณะออกกำลังกาย หรือหลังออกกำลังกาย SpO2 น้อยกว่า 88%
  • ให้เฉพาะขณะนอนหลับ ถ้าขณะหลับ SpO2 ต่ำกว่า 88 %

ทั้งสองภาวะเบื้องต้นนี้สามารถประเมินโดยการตรวจจับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด ซึ่งอาจจะได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ผู้ดูแลก่อนจะดีที่สุด

 

อุปกรณ์สำหรับให้ออกซิเจน

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่ต้องได้ออกซิเจนที่บ้าน มักใช้เพียงอุปกรณ์ชนิด nasal cannula หรือสายออกซิเจนแบบผ่านจมูก เพราะภาวะพร่องออกซิเจนมักจะต่ำและไม่รุนแรงมากนัก อย่างไรก็ตามก็มีผู้ป่วยโรคปอด หรือโรคหัวใจบางรายที่มีภาวะขาดออกซิเจนที่รุนแรงแต่เรื้อรังมากๆ จำเป็นต้องรักษาตัวที่บ้าน จึงต้องมีการใช้อุปกรณ์สำหรับให้ออกซิเจนในรูปแบบอื่นๆ ด้วยดังนี้

 

1. nasal cannula หรือสายออกซิเจนแบบผ่านจมูก

ใช้สำหรับอัตราการไหลของออกซิเจน 1-6 ลิตร/นาที สายเล็กๆ ที่นำออกซิเจนควรอยู่ลึกในจมูกประมาณ 1 ซม. ข้อดีคือผู้ป่วยจะรู้สึกสบายกว่าอุปกรณ์แบบอื่นและมีราคาถูก

ความเข้มข้นของออกซิเจนที่ผู้ป่วยได้รับ (FiO2)

1 L/min = 24 %

2 L/min = 28 %

3 L/min = 32 %

4 L/min = 36 %

5 L/min = 40 %

6 L/min = 44 %

ข้อจำกัด

ความเข้มข้นของออกซิเจนที่ผู้ป่วยได้รับแปรผันตามการหายใจ ถ้าหายใจเร็ว หอบอยู่ สัดส่วนของอากาศปกติก็จะมาก ทำให้ความเข้มข้นลดลง และถ้าเปิดออกซิเจนแรง จะทำให้ระคายเคืองเยื่อบุจมูก

 

2. Simple Oxygen Mask หรือหน้ากากออกซิเจน

ใช้สำหรับอัตราการไหลของออกซิเจน 5-8 ลิตร/นาที การใช้ต้องครอบให้แนบสนิทกับหน้า

ความเข้มข้นของออกซิเจนที่ผู้ป่วยได้รับ (FiO2)

5-8 L/min = 50-60%

ข้อจำกัด

ห้ามเปิดออกซิเจน น้อยกว่า 5 L/min เพราะจะทำให้ลมหายใจเดิมค้างในหน้ากาก ผู้ป่วยจะหายใจเอาอากาศเดิมเข้าไปใหม่ได้ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจะรู้สึกอึดอัด ไม่สบาย

 

3. High Concentration Oxygen Re breathing Mask with Bag หรือหน้ากากออกซิเจนมีถุง

ใช้สำหรับอัตราการไหลของออกซิเจน 6-10 ลิตร/นาที การใช้ต้องครอบให้แนบสนิทกับหน้า สังเกตว่าถุงมีการยุบพอง ตามจังหวะการหายใจของคนไข้

ความเข้มข้นของออกซิเจนที่ผู้ป่วยได้รับ (FiO2)

6-10 L/min = 55-70 %

ข้อจำกัด

ห้ามเปิดออกซิเจน น้อยกว่า 6 L/min อื่นๆ เช่นเดียวกับ simple mask

 

ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ

ออกซิเจนในเลือดต่ำ หมายถึง แรงดันของออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ หรือวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดได้น้อยกว่าปกตินั่นเอง เครื่องที่ใช้ตรวจวัดสะดวกแพร่หลายจะเป็น การวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน เพราะสามารถวัดได้จากภายนอก โดยใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์  ที่ไม่ยุ่งยาก และซับซ้อน เราจะวัดโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า pulse oximeter (เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว) โดยปกติค่าเฉลี่ยของคนทั่วไปความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดจะอยู่ที่ 96 – 100%  ของความอิ่มตัวสูงสุด 

หากค่า 95 % หรือต่ำกว่า มีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ควรปรึกษาแพทย์ **หากมีโรคประจำตัวบางกลุ่ม หรือสูบบุหรี่จัดอาจส่งผลให้ความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติได้** ในกรณีออกซิเจนต่ำที่เป็นเรื้อรังแล้วร่างกายมีการปรับตัว มักจะไม่มีอาการของการขาดออกซิเจน จนกว่าออกซิเจนจะเริ่มต่ำกว่า 90% เมื่อออกซิเจนในเลือดต่ำ เริ่มแรกเลยร่างกายจะพยายามปรับสมดุลในตัวเอง เพื่อรักษาระดับออกซิเจนไม่ให้ตกก่อน โดยการหายใจที่เร็วขึ้น แรงขึ้น หัวใจก็พยายามสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ มากขึ้น โดยจะเต้นเร็วและแรงขึ้นด้วยเช่นกัน ความดันโลหิตก็จะสูงขึ้น

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

  • เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วใช้อย่างไร./https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2/
  • นพ.สุรพันธ์ เจริญธัญรักษ์.ใส่ O2 canula ได้ FiO2 เท่าไร ?.https://www.facebook.com/kkhsepsis
  • หลักการให้ออกซิเจนกับผู้ป่วย. https://www.medi2you.com/oxygen-concentrator/

 

หมายเหตุ ติดต่อบริษัทฯผู้จัดจำหน่าย 099 018 8800

เวลาทำการ : เปิดทุกวัน เวลา 08.30-17.30 น.

 

**เครื่องผลิตออกซิเจนไม่ใช่อุปกรณ์ช่วยชีวิต กรุณาอ่านคู่มืออย่างระวัง**

**ในกรณีติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า กรุณานัดหมายในเวลาทำการ**

**การใช้เครื่องผลิตออกซิเจนควรอยู่ในคำแนะนำของแพทย์** 

 

Engine by shopup.com